การก่อสร้างอาคารด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป: การทบทวนวรรณกรรมในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ด้วยการก่อสร้างอาคารด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูปได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย ทำให้มีการวิจัยในเรื่องนี้มากขึ้น และกระจายอยู่ในฐานข้อมูลต่าง ๆ โดยยังไม่มีการรวบรวมและเรียบเรียง ให้เป็นประโยชน์ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ จึงมีวัตถุประสงค์ จะจัดทำฐานข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป และบ่งชี้ช่องว่างงานวิจัยในศาสตร์นี้ จากการสืบค้น พบงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ในช่วงปีพ.ศ. 2516-2560 ในฐานข้อมูลของ 8 สถาบันอุดมศึกษา จำนวนรวม 140 รายการ หลังช่วงปีพ.ศ. 2541-2545 มีการศึกษาวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยที่พบ ครอบคลุมปัจจัย วิธีการ ประเภท ประโยชน์ และปัญหาของอาคารที่ก่อสร้างอาคารด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป แต่เมื่อพิจารณาตามขั้นตอนในวงจรชีวิตสถาปัตยกรรม พบว่ายังขาดงานวิจัยหลายเรื่อง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานตลอดทั้งวงจร การตัดสินใจเลือกรูปแบบการก่อสร้างและการผลิตอย่างเหมาะสม การวางแผนจัดการชิ้นส่วน และการออกแบบคำนึงถึงการผลิต ขนส่ง ติดตั้ง และรื้อถอน นอกจากนี้ การวิเคราะห์ยังพบช่องว่างองค์ความรู้ โดยเฉพาะขั้นการขนส่ง ขั้นหลังการก่อสร้าง และขั้นการปรับปรุงหรือรื้อถอนอาคาร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กิตติ หร่ายขุนทด. (2559). การก่อสร้างห้องน้ำด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คเชนท์ สุริยาวงศ์. (2550). ระบบการก่อสร้างที่อยู่อาศัยโดยชิ้นส่วนสำเร็จรูปแบบผนังรับน้ำหนัก โดยผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑารัตน์ ประสานพิมพ์. (2557). ชิ้นส่วนชุดช่องท่อสำเร็จรูปและวิธีการติดตั้งสำหรับอาคารชุดพักอาศัย. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนิกา รักษากุล. (2560). การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป: การออกแบบบ้านเดี่ยว. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนินทร์ วงศ์พานิชย์. (2558). การเปรียบเทียบข้อบกพร่องสำหรับการก่อสร้างบ้านเดี่ยวแบบสำเร็จรูปและแบบทั่วไป. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ชนินทร สรรพกิจบำรุง. (2551). การจัดการความรู้ กรณีศึกษาผู้ผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชลิต อุดมพรวัฒนา. (2559). การออกแบบขั้นตอนการขนถ่ายสินค้าหลังขั้นตอนการผลิตสำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐาปนี เพชรคงทอง. (2557). การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเต็มรูปแบบ. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐชา มาตุภูมานนท์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านสั่งสร้างเอสซีจี ไฮม์ (SCG HEIM) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. ปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐพล สุเรนทร์พิทักษ์. (2554). การเลือกสูตรและจัดตารางการผลิตสำหรับการผลิตคอนกรีตสำเร็จรูป. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐวุฒิ ถนอมพวงเสรี. (2549). การวิเคราะห์กระบวนการจัดการชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปสำหรับงานก่อสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้กรณีศึกษา. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไตรวัฒน์ วิรยศิริ. (2562). การจัดการสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิวา รักอาชีพ. (2557). ทัศนคติต่อการก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูปในตลาดบ้านพักอาศัยของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสาคร. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
นงลักษณ์ ไกล่เกลี่ย. (2558). การศึกษาปัญหาในขั้นตอนส่งมอบเพื่อเริ่มต้นงานตกแต่งภายในด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
นาวิน นาคะศิริ. (2542). การศึกษาและเปรียบเทียบชิ้นส่วนสำเร็จรูปประเภทผนังรับน้ำหนัก กรณีศึกษา: ผู้ประกอบการซื้อสำเร็จจากโรงงานผลิต กับการผลิตในที่ก่อสร้าง. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บดินทร์ ตั้งศิลปโอฬาร. (2545). แนวทางการปรับปรุง การดัดแปลง และต่อเติมตึกแถวระบบชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป: กรณีศึกษาสยามสแควร์ กรุงเทพฯ. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปกรณ์ สุวรรณคีรีขันธ์. (2553). การเปรียบเทียบการก่อสร้างบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ด้วยระบบโครงสร้าง เสา-คานเหล็กสำเร็จรูปกับระบบเดิม. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประทีป อิทธิเมฆินทร์. (2520) การศึกษาระบบก่อสร้างสำเร็จสำหรับบ้านพักอาศัย. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะ ดโนทัย. (2555). รอยต่อชิ้นส่วนก่อสร้างสำเร็จรูป กรณีศึกษา: บ้านพักอาศัย 4 โครงการ. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พัศพันธน์ ชาญวสุนันท์. (2555). การบริหารจัดการข้อมูลและสารสนเทศโดยกระบวนการอัตโนมัติเพื่อลดความต้องการความรู้และทักษะในงานก่อสร้าง. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิเชษฐ์ นะสูงเนิน. (2560) การก่อสร้างบ้านด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป: การประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป บ้านเดี่ยว. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญพิชชา กฤตยากรนุพงศ์. (2558). การศึกษาการป้องกันการรั่วซึมน้ำที่รอยต่อระหว่างแผ่นคอนกรีตหล่อสำเร็จด้วยยางบิวไทล์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทราวัลย์ สอดส่อง. (2556). พฤติกรรมการต่อเติมพื้นที่ใช้สอยบ้านเดี่ยวระดับราคา 5-8 ล้านบาท: กรณีศึกษา โครงการฮาบิเทีย ปัญญาอินทรา เฟส 2. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รณกร ชมธัญกาญจน์. (2555). กระบวนการก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูปของอาคารประเภทบ้านเดี่ยว กรณีศึกษา : บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน). ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รวิพล วธาวนิชกุล. (2552). กรณีศึกษาการจำลองสถานการณ์ ระบบการทำงานการหล่อและติดตั้งผนังหล่อสำเร็จ. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ลักขณา เล็กแหลมหลัก. (2557). การออกแบบบ้านประหยัดพลังงานที่สร้างได้เร็วด้วยแรงคน. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วงศ์วิสุทธิ์ วิสุทธิ์เสรีวงศ์. (2558). การประยุกต์ใช้การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารสำหรับการจัดการห่วงโซ่อุปทานของคอนกรีตหล่อสำเร็จ: โครงการกรณีศึกษา. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรพงศ์ งามสิริมงคลชัย. (2558). รูปแบบธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์: กรณีศึกษา บริษัท แลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน). ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิกรม เหล่าวิสุทธิชัย. (2559). การเปรียบเทียบการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปในที่ตั้งโครงการและในโรงงาน. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัญโญ สุขประสพโภคา. (2552). โอกาสในการนำระบบประสานทางพิกัดมาพัฒนาการออกแบบบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ในการก่อสร้างแบบอุตสาหกรรม: กรณีศึกษาโครงการเพอร์เฟค พาร์ค จังหวัดนนทบุรี. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิญญู ทัตธนานุรัตน์. (2548). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยออกแบบระบบเสาและคานสำเร็จรูป สำหรับอาคารพักอาศัยในประเทศไทย. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ศตวรรษ ด้วงแป้น. (2556). การศึกษาปัญหาการใช้งานของบ้านจัดสรรระบบผนังสำเร็จรูปปรับน้ำหนักบรรทุก. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ศศิวิมล วิวิชชานนท์. (2553). การลดข้อบกพร่องในการผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิวรักษ์ เยื่อใย. (2556). การใช้ QFD สำหรับหาปัจจัยในการปรับปรุงคุณภาพผนังคอนกรีตสำเร็จรูปจาก กรณีศึกษา. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ศุภสิทธิ์ พฤกษโชติ. (2547). การนำวิธีก่อสร้างกึ่งสำเร็จรูปมาใช้กับโครงการบ้านเดี่ยวสำหรับผู้มีรายได้น้อย: กรณีศึกษาโครงการบ้านเอื้ออาทร รังสิตคลอง 3 จังหวัดปทุมธานี. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริชัย บัวมาก. (2558). การพัฒนาโปรแกรมบริหารคลังสินค้า สำหรับโรงงานชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป กรณีศึกษา บริษัท บี.เจ. พรีคาสท์ จำกัด. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุกฤต อนันตชัยยง. (2545). การศึกษาและเปรียบเทียบการก่อสร้างบ้านพักอาศัย ด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูประบบเสา-คาน กับการก่อสร้างแบบทั่วไป: กรณีศึกษา หมู่บ้านคุณาลัย บางขุนเทียน. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชน รัตนูปกรณ์. (2557). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารทาวน์เฮ้าส์ด้วยระบบสำเร็จรูปและระบบกำแพงหล่อในที่. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อนุชา เงินอยู่. (2554). การยอมรับระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปในงานสถาปัตยกรรม. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อมร ปิยะวาจี. (2555). การออกแบบอาคารพักอาศัยโครงสร้างเหล็กเบาด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
อินทิรา บางภิภพ. (2551). การเปรียบเทียบอาคารชุด 8 ชั้นที่นำระบบผนังรับน้ำหนักเป็นผนังภายใน ร่วมกับ ระบบผนังก่ออิฐเป็นผนังภายนอก กับ ระบบผนังก่ออิฐเป็นผนังภายใน ร่วมกับ ระบบผนังค.ส.ล.สำเร็จรูป เป็นผนังภายนอก. ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดม หงส์หิรัญ. (2543). การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทนด้านการเงินของโครงการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป. ปริญญามหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Development Bureau of the Government of the Hong Kong Special Administrative Region (DEVB). (2018). Construction 2.0: Time to change. Retrieved from https://www.psgo.gov.hk/assets/pdf/Construction-2-0-en.pdf [accessed 1 December 2021].
Gibb, A., & Isack, F. (2003). Re-engineering through pre-assembly: client expectations and drivers. Building Research & Information, 31(2), 146-160.
Faria, J. M. A. (2017). Building facades prefabrication. The lesson of the burgo building. In The Pre-Fabrication of Building Facades (pp. 21-23). Springer, Cham.
Hong, J., Shen, G. Q., Li, Z., Zhang, B., & Zhang, W. (2018). Barriers to promoting prefabricated construction in China: A cost–benefit analysis. Journal of Cleaner Production, 172, 649-660.
Laovisutthichai, V., Lu, W., & Xue, F. (2020). Modular construction: Design considerations and opportunities. In Proceedings of the 25th International Symposium on Advancement of Construction Management and Real Estate (CRIOCM2020). Springer, Cham.
Laovisutthichai, V., & Lu, W. (2021). Architectural design for manufacturing and assembly for sustainability. In Design and Technological Applications in Sustainable Architecture (pp. 219-233). Springer, Cham.
Li, Z., Shen, G. Q., & Xue, X. (2014). Critical review of the research on the management of prefabricated construction. Habitat International, 43, 240-249.
Lu, W., Lee, W. M., Xue, F., & Xu, J. (2021). Revisiting the effects of prefabrication on construction waste minimization: A quantitative study using bigger data. Resources, Conservation and Recycling, 170, 105579.
O'Neill, D., & Organ, S. (2016). A literature review of the evolution of British prefabricated low-rise housing. Structural Survey, 34(2), 194-214.
Tam, V. W., Tam, C. M., Zeng, S. X., & Ng, W. C. (2007). Towards adoption of prefabrication in construction. Building and Environment, 42(10), 3642-3654.
Tatum, C. B., Vanegas, J. A., & Williams, J. M. (1987). Constructability improvement using prefabrication, preassembly, and modularization. Austin, TX, USA: Bureau of Engineering Research, University of Texas at Austin.
Webster, J., & Watson, R. T. (2002). Analyzing the past to prepare for the future: Writing a literature review. MIS Quarterly, 26(2), xiii-xxiii.
Wee, B. V., & Banister, D. (2016). How to write a literature review paper?. Transport Reviews, 36(2), 278-288.