การจัดการวงจรขยะชุมชนแบบครอบคลุมโดยใช้แนวคิด การพึ่งพากันของระบบนิเวศเมือง และเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อนำไปสู่การจัดการขยะที่ยั่งยืนผ่านมิติ ด้านการบริหารจัดการเมือง Community Solid Waste Management based on Symbiosis and Circular Economy Concept towards Sustainable Waste Management through Urban Management Dimension

Main Article Content

Pechladda Pechpakdee

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษางานวิจัยเรื่องการศึกษารูปแบบการจัดการวงจรขยะชุมชนแบบครอบคลุม โดยใช้แนวคิดการพึ่งพากัน ของระบบนิเวศเมืองเพื่อนำไปสู่การจัดการขยะที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองสารคาม ภายใต้สำนักประสานงานชุดโครงการชุดโครงการเมืองยั่งยืน โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ปี 2562 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม  (สกสว.) 


วิธีการศึกษา การศึกษาวิเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative analysis) และ การศึกษาเชิงพื้นที่ (Area Based Analysis) และเชิงคุณภาพ (qualitative analysis) ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นออกเป็น 3 ภาคส่วนได้แก่ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะชุมชน ได้แก่ ภาคส่วนที่เป็นทางการ (formal sector) ภาคส่วนกึ่งทางการ(semi-formal sector) และภาคส่วนที่ไม่เป็นทางการ (informal sector)   โดยมีขั้นตอนภาพรวมวิธีวิจัยระดับแหล่งกำเนิด (Input) ระดับการจัดการ (Process) ระดับการกำจัดขยะปลายทาง (Output)


ผลการวิจัย ได้เสนอแนะให้เริ่มจากการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือน  โดยแบ่งเป็นขยะเปียกและขยะแห้ง เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดการระดับครัวเรือน ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้รูปแบบในต่างประเทศ เนื่องจาก ในบริบทของไทย มีภาคส่วนไม่เป็นทางการอย่างธุรกิจรับซื้อของเก่าซึ่งมีประสิทธิภาพในการคัดแยกประเภท และชนิดขยะมากที่สุด โดยการสร้างการบรูณาการระหว่างภาคส่วนเป็นทางการ (formal sector) โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล ภาคส่วนกึ่งทางการ (semi-formal sector) อย่างบริษัทประชารัฐรักสามัคคี และภาคส่วนไม่เป็นทางการ (informal sector) ในระดับชุมชน ตามแนวคิดการพึ่งพาของระบบนิเวศเมือง (symbiosis concept)


คำสำคัญ: ขยะชุมชน เศรษฐกิจหมุนเวียน การพึ่งพาระบบนิเวศเมือง การบริหารจัดการเมือง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). รายงานประจำปี 2563. กรมควบคุมมลพิษ. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/08/pcdnew-2021-08-04_06-58-34_275626.pdf. [สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563].

กระทรวงอุดมศึกษา วิจัย วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม. (2562). ข้อเสนอ BCG in Action: The New Sustainable Growth Engine โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพ

ฤทธิภัฏ กัลป์ยาณภัทรศิษฏ์ม. (2564). วิกฤตกฎหมายกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในระดับปฏิบัติการ. Journal of Law and Social Sciences 14 (1). pp.138-161.

ไทยพับลิก้า, (2563). “ซิมไบโอซิตี้” การสร้างเมืองสีเขียวแบบบูรณาการสไตล์สวีเดิน. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://thaipublica.org/2012/02/symbio-city-sweden-green-growth/. [สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563].

ปางอุบล อำนวยสิทธิ์. (2560). Circular Economy: พลิกวิกฤติทรัพยากรด้วยระบบเศรษฐกิจใหม่. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.scbeic.com/th/detail/product/3831. [สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563].

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2562). แนวทางการใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กร ปรับปรุงจากมาตรฐาน มตช. 2-2562. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://carbonmarket.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Y2VfaXM=. [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564].

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2563). พัฒนาการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. กองกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. กรุงเทพ.

อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง, เกียรติศักดิ ศรีประทีป, กริสน์ ชัยมูล, และ นิดา ศีลแสน. (2558). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดมหาสารคาม. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.researchgate.net/profile/Anongrit-Kangrang/publication/31868923_phaenklyuththkarcadkarkhyaniphunthidoyrxbmhawithyalaymhasarkham_withyakhetkhamreiyng_raynganchbabsmburn/links/59a24fb2a6fdcc1a314d63f5/phaenklyuththkarcadkarkhyaniphunthidoyrxbmhawithyalaymhasarkham-withyakhetkhamreiyng-raynganchbabsmburn.pdf. [สืบค้นเมื่อ 1 11 กุมภาพันธ์ 2563].

European Commission. (2020). 2020 Circular Economy Action Plan: International Aspects. European Commission. Brussels. [Online]. Retrieved from: https://op.europa.eu/en/publication-detail/-/publication/9dc6aa01-39d2-11eb-b27b-01aa75ed71a1/language-en/format-PDF/source-search. [Accessed 2 December 2020]

D’ Adamo, I. (2019). Adopting a Circular Economy: Current Practices and Future Perspectives. [Online]. Retrieved from: https://www.researchgate.net/publication/337850289_Adopting_a_Circular_ Economy_ Current_Practices_and_Future_Perspectives. [Accessed 1 March 2020]

Ellen MacArthur Foundation. (2019). What is a circular economy? A framework for an economy that is restorative and regenerative by design. [Online]. Retrieved from: https://www.ellenmacarthurfounda tion.org/circular-economy/concept. [Accessed 27 November 2019].

Pechpakdee, P. (2014). Villagers and Mobility in Northeast Thailand: Alternative Modes of Power and Environmental Planning, University of Leeds, pp. 342.

Siwei, Cheng. (2011). “Green Economy and Its Implementation in China”. In The Green Economy and Its Implementation in China. Singapore: Enrich Professional Publishing.

UNEP. (2016). UNEP. Green Economy. [Online]. Retrieved from: http://www.unep.org/greeneconomy/AboutGEI/WhatisGEI/tabid/29784/Default.aspx. [Accessed 30 September 2020].

Verisk Maplecroft 2019, Waste Generation and Recycling Indices 2019, the Verisk Maplecroft Environment Dataset. [Online]. Retrieved from: https://www.circularonline.co.uk/wp-content/uploads/2019/07/Verisk_Maplecroft_Waste_Generation_Index_Overview_2019.pdf. . [Accessed 23 November 2020].