การปรับปรุงระบบแสงสว่างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 สถานีขนส่งจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
อาคารผู้โดยสารหลังที่หนึ่งสถานีขนส่งจังหวัดขอนแก่นแห่งที่สาม มีการใช้ระบบไฟฟ้าแสงสว่างอยู่ตลอดเวลา พบปัญหาการใช้งานในระบบแสงสว่างที่ไม่เพียงพอ และไม่ปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่และผู้โดยสารสาธารณะที่เข้าใช้อาคาร บทความนี้จึงต้องการศึกษาการปรับปรุงระบบแสงสว่างในอาคาร ซึ่งเป็นอาคารที่เป็นแบบมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก ที่ใช้งานอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ
และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาระบบแสงสว่างที่ไม่เพียงพอและเหมาะสม วิธีการศึกษาประกอบด้วยการทบทวนรูปแบบระบบแสงสว่างตามรูปแบบที่กำหนดไว้เดิม และรูปแบบการใช้งานด้านแสงสว่างแต่ละพื้นที่ในอาคาร โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแสงสว่างตามกฎหมายกำหนด ปรับปรุงระบบแสงสว่างตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ ปรับเปลี่ยนและเพิ่มจำนวนดวงโคมหรือหลอดไฟให้ได้ปริมาณความสว่างเฉลี่ยที่เหมาะสมต่อการใช้งานเพิ่มขึ้น และมีวิธีการจัดการระบบแสงสว่างที่สามารถควบคุมค่าใช้ไฟฟ้าแสงสว่างให้เหมาะสม
การจำลองแสงสว่างในคอมพิวเตอร์โปรแกรมพบปัญหาด้านแสงสว่างใกล้เคียงกันคือ ในช่วงเวลากลางคืน มีปริมาณแสงสว่างต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด และความไม่สม่ำเสมอ ของแสงสว่างในแต่ละพื้นที่ภายในอาคารโดยพื้นที่ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือจุดขึ้นรถและลงรถ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยการส่องสว่างเพียง 10-60 lx การศึกษาจึงได้ทดลองกำหนดจำนวนดวงโคมเพิ่มขึ้นตามเทคนิคการส่องสว่าง ตามลักษณะการใช้งาน ในช่วงเวลากลางคืน และจำลองแสงสว่างในโปรแกรม Dialux 4.13 นำข้อมูลมาวิเคราะห์เทียบกับแสงสว่างปัจจุบันในพื้นที่ เพื่อกำหนดผังโซนการติดตั้งดวงโคมเพิ่มเติม และปรับปรุงระบบวงจรการใช้งานให้เหมาะสมกับปริมาณแสงสว่างตามช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ผลการปรับปรุงระบบแสงสว่างแสดงให้เห็นค่าปริมาณแสงสว่างตามมาตรฐานและเพียงพอตามกฎหมายกำหนด เป็นสัดส่วนปริมาณค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมาจากการปรับปรุงระบบแสงสว่าง เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงระบบแสงสว่างในอาคารในงานวิจัยชิ้นนี้ สามารถนำไปเป็นตัวอย่างการศึกษาระบบแสงสว่างในอาคารผู้โดยสาร หรืออาคารอื่นๆ เพื่อช่วยระบบแสงสว่างเพียงพอต่อการใช้งาน เกิดความปลอดภัยในการเข้าใช้อาคารในระบบแสงสว่างที่เพียงพอ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กระทรวงแรงงาน. (2549). กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
กระทรวงมหาดไทย. (2522). กฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
ชำนาญ ห่อเกียรติ. (2540). เทคนิคการส่องสว่าง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยิ่งสวัสดิ์ ไชยกุล. (2559). การปรับปรุงระบบแสงสว่างอาคารศูนย์อาหารและบริการ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
. (2563). แสงสว่างในสถาปัตยกรรม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย. (2559). คู่มือแนวทางการออกแบบ การส่องสว่างภายในอาคาร (Guidelines for Indoor Lighting Design). กรุงเทพฯ: สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. (2553). แบบมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก (เลขที่1985/2553).
อธินันท์ โสภาพงศ์. (2543). แนวทางการนำเอาแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารสถานีขนส่งเพื่อลดการใช้แสงประดิษฐ์: กรณีศึกษา สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสถาปัตยกรรมศาสตร์,
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Boyce, P.R. and Gutkowski, J.M. (1995). The if, why and what of street lighting and street crime: A review. Lighting Reseach and Technology, 27(2), 103-112.
CIBSE. (2002). Code for Lighting. London, Butterworth Heinemann.
Philips Lighting (1993). Lighting Manual Eindhoven, Lighting Design and Application Centre.
Tregenza, P.R. and D. Loe (1998). The Design of Lighting. London, E and FN Spon.
IESNA, Ed. (2003). IESNA Lighting Ready Reference. (RR-03). New York: IESNA.
Illuminating Engineering Association of Thailand (TIEA). (2016). Illuminating Engineering Association of Thailand (TIEA). Retrieved 12 October, 2016, from www.tiea.net.
Commission of the European Communities Directorate-General for Energy (DGXVII). (1992). [n.p.].
Chaiyakul, Y. and Boonyaputthipong, C. (2006). Effect of solar radiation on roof forms. Khon Kaen, Thailand: Technology and Innovation for Sustainable Development Conference (TISD2006).
DIALux. (2016). DIALux Version 4.13. Retrieved October 15, 2021, from http://www.diai.de.
Led high bay. (2017). LED High Bay Iwachi 100w (Daylight). Bangkok, Led high bay. Lighting & Equipment Public Company Limited. (2017). LED-T8-1800LM (16W) Specification. [n.p.].
ออนไลน์
สิขรินทร์ อยู่คง. (2563). คณิตศาสตร์ที่ซ้อนอยู่ในการปูพื้นกระเบื้อง (Tessellation). http://www.sikarinyookong.com