การแปรเปลี่ยนอิทธิพลของศิลปกรรม สถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีต่างชาติต่อลักษณะสถาปัตยกรรมพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง

Main Article Content

ธนัชพงศ์ เมธีปิยะวัฒน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


      ลักษณะทางสถาปัตยกรรมพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังมีการแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อลักษณะทางสถาปัตยกรรมพระที่นั่ง คือ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ บทความนี้จึงทำการศึกษาการแปรเปลี่ยนอิทธิพลของศิลปกรรม สถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีต่างชาติต่อลักษณะสถาปัตยกรรมพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง ว่าประกอบด้วยชาติใด ลักษณะใด และส่งผลต่อลักษณะสถาปัตยกรรมพระที่นั่งอย่างไร ด้วยกระบวนการศึกษาเชิงคุณภาพ ผ่านการศึกษาจากเอกสารขั้นทุติยภูมิ ร่วมกับการสังเกตจากสถานที่จริง และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อสรุปผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่าศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และเทคโนโลยีต่างชาติล้วนมีอิทธิพลต่อลักษณะสถาปัตยกรรมพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังในทุกรัชสมัย และได้รับอิทธิพลคติความเชื่อสืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา ลักษณะสถาปัตยกรรมพระที่นั่งแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงแต่มีลักษณะสถาปัตยกรรมไทยประเพณีกำกับอยู่เสมอ ผสมผสานกับชาติต่าง ๆ เป็นช่วง ๆ ในลักษณะค่อย ๆ แปรเปลี่ยน นอกจากนั้นยังสันนิษฐานได้ว่ายังได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุลจักรพงษ์. (2560). เจ้าชีวิต พงศาวดาร 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ: ริเวอร์ บุ๊คส์.
ชรินทร์ แช่มสาคร. (2560). อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะอ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า. [ออนไลน์]. ได้จาก https://www.tnews.co.th/headshot/322967/อัศจรรย์-!!-12 ประตูพระบรมมหาราชวังอ่านชื่อปกติว่าไพเราะอ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563].
นริศ อาจยืนยง. (2553). ไตรภูมิคติในงานออกแบบพุทธสถาปัตยกรรมสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, ไขแสง ศุขะวัฒนะ และผุสดี ทิพทัส. (2531). สถาปัตยกรรมพระบรมมหาราชวัง. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ.
แน่งน้อย ศักดิ์ศรี. (2537). มรดกสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ.
วลัญช์ สุภากร. (2558). ทรงต้านภัยด้วยงานสถาปัตย์. [ออนไลน์]. ได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/677322. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563].
สำนักพระราชวัง. (2550). พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร. กรุงเทพฯ : นิวไวเต็ก.
แสงสูรย์ ลดาวัลย์. (2507). พระมหาปราสาทและพระราชมณเฑียรสถานในพระบรมมหาราชวัง. กรุงเทพมหานคร : พระจันทร์.
อรรคพล สาตุ้ม. (2549). การเปลี่ยนแปลงพรมแดนความรู้ : คติทางศิลปะ-ภูมิสถาปัตยกรรม ของวัดสองฝั่งโขง. วารสารชุดภูมิภาคศึกษา สำหรับรวมบทคัดย่อและข้อเขียน อาจารย์ นักศึกษาปริญญาโท ภูมิภาคศึกษา, 1(1), 90-103.
Amnuay-ngerntra, S. (2007). King Mongkut’s political and religious ideologies through architecture at Phra Nakhon Kiri. MANUSYA: Journal of Humanities, 10(1), 72-88.
Seviset, S. & Qun, L. J. (2012). Western architecture in Grand Palace, under Thai social and cultural conditions in the early reign of King Chulalongkorn. International Journal of Humanities and Social Sciences, 6(10), 2555 - 2562.
Seviset, S. & Qun, L. J. (2013). The Reflection of the relationship between the social context and the architecture in the Thai Royal Court. History Research, 1(2), 25-31.