แนวทางการสร้างสรรค์ พัฒนา และเพิ่มมูลค่าสินค้าหัตถกรรมสิ่งทอท้องถิ่นสู่ตลาดสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูปออนไลน์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์และทอผ้าบ้านทุ่งแสมอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

Dhea Khotradha

บทคัดย่อ

ปัจจุบัน (มิถุนายน 2564) สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด 19 ที่ปรากฎอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์และทอผ้าบ้านทุ่งแสม ชุมชนหนองขาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี แหล่งรายได้ทำกินของประชากรในตำบลหนองขามก็ได้รับผลกระทบนี้โดยตรงเช่นกัน หนทางการแก้ปัญหาที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ นี้ต้องการ คือ การแปรรูปวัตถุดิบคงเหลือเดิมส่งออกเป็นสินค้าสิ่งทอในตลาดการค้าสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูปออนไลน์ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางการสร้างสรรค์อัตลักษณ์กลุ่มสินค้าสิ่งทอแปรรูปในตลาดสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูปออนไลน์ที่เหมาะสมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ประกอบ แนวทางการพัฒนาและยกระดับการค้ากลุ่มสินค้าสิ่งทอแปรรูป โดยศึกษาข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมถึงการศึกษาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับปัจจัยเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านขีดความสามารถเฉพาะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ (2) ด้านลักษณะเฉพาะของการบริหารจัดการสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูปออนไลน์ (3) ด้านพฤติกรรมและทัศนคติของกลุ่มผู้บริโภค (4) ด้านลักษณะเฉพาะของตลาดสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูปออนไลน์ และ (5) ด้านลักษณะเฉพาะของการสร้างสรรค์สินค้าแฟชั่นสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายในตลาดการค้าออนไลน์ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่างในประเทศจำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างต่างประเทศจำนวน 400 คน มีผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ตามกรอบการศึกษา พบว่า (1) แนวโน้มทางการค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ จะค้าขายได้ดีในตลาดการค้าออนไลน์ที่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นตามแนวทางฐานตลาดเดิมที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเคยทำการค้าผ่านพ่อค้าคนกลาง การใช้วัตถุดิบการเกษตรในพื้นที่มาเป็นส่วนช่วยสนับสนุนการผลิต เช่น การย้อมและทอ จะช่วยส่งเสริมการค้าให้ดีขึ้น (2) การกำหนดไอเทมในคอลเลคชัน ต่อระยะเวลา 1 ฤดูกาลหรือ 3 เดือน ไม่ควรมีจำนวนน้อยกว่า 70 ไอเทม หรือ 45 รูปแบบ โดยการผลิตไอเทมควรไปในแนวทางตลาดแฟชั่นสำเร็จรูปปกติ (3) กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มสตรีจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย มีอายุเฉลี่ย 25 - 35 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 35,000 – 50,000 บาท มีอัตราการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์ เฉลี่ยเดือนละไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง (4) รูปแบบของสินค้าที่นำเสนอสไตล์ของการท่องเที่ยวธรรมชาติ มิติสมัยใหม่ทางวัฒนธรรม และความนำสมัยที่เรียบง่าย ในประเภทกลุ่มสินค้า Resort’s wear และกลุ่มสินค้า Home’s wear จะเป็นกรอบแนวคิดสำคัญของการสร้างสรรค์ ทั้งนี้ เทคนิคการตัดต่อทั้งการต่อประกอบและการแยกประกอบจะเป็นรายละเอียดจำเพาะที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ  (5) กลุ่มสินค้าใหม่ถูกจำหน่ายได้ดีที่สุดในแพลตฟอร์ม Amazon รองลงมา คือแพลตฟอร์ม Shopee โดยรายได้ส่วนใหญ่ที่มาจากแพลตฟอร์ม Amazon มักมาจากประเทศญี่ปุ่น มีช่วงราคาเฉลี่ยที่จำหน่ายได้อยู่ที่ 800 – 3,000 บาท ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มตลาด Fashion Follower ของกลุ่ม Fashion Middle Class ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผลสรุปเป็นไปตามที่กำหนดในวัตถุประสงค์มากที่สุด ในส่วนของข้อ 5 ผู้วิจัยจึงใช้การทดสอบการตลาด ด้วยการเก็บข้อมูลจากการทดลองการจำหน่ายจริง ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของงานวิจัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
จรูญศักดิ์ สุนทรเดชา. (2564). ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์. สัมภาษณ์, 8 เมษายน.
ชูพรรค แพงไธสง. (2563). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
ชลธร เอี่ยมโหมด. (2564). ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดสินค้าแฟชั่น. สัมภาษณ์, 2 เมษายน.
ดวงดาว ท่ามตระกูล. (2545). การตัดเย็บขั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ธีร์ โคตรถา. (2561). การสร้างสรรค์และพัฒนากลุ่มสินค้าแฟชั่นสตรีมุสลิมสำเร็จรูป กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมุสลิมบ้าน
รานอ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3),3007 – 3023.
บุญยัง วังเปรม. (2564). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม. สัมภาษณ์, 26 มีนาคม.
ปิยะพงษ์ โรจน์นภาลัย และ อรพรรณ คงมาลัย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์อย่างต่อเนื่องของผู้บริโภค กรณีศึกษาเสื้อผ้าแฟชั่น. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10, (น. 8 - 9). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2554). การบริหารการจัดการสินค้าแฟชั่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2564). ศาสตราจารย์ ดร. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัมภาษณ์, 1 เมษายน.
เพ็ชร มณีวงศ์. (2564). หัวหน้าวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์และทอผ้าบ้านทุ่งแสม. สัมภาษณ์, 26 มีนาคม.
มณเธียร โอทองคำ. (2564). ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างผ้าทอ. สัมภาษณ์, 5 เมษายน.
ลัดดาวัลย์ สารพัฒน์. (2564). ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสินค้าแฟชั่น. สัมภาษณ์, 29 มีนาคม.
ศิโรจน์ ไชยสาม. (2564). ผู้อำนวยการอาวุโส ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน. สัมภาษณ์, 4 เมษายน.

ภาษาต่างประเทศ
Asia E-Commerce Trends. (2021). Top 10 Thailand’s online shopping sites 2021. [ออนไลน์]. ได้จาก: www.ecomeye.com [สืบค้นเมื่อ วันที่14 เมษายน 2564]
Khotradha, D. “Direction for Creating Fashion and Lifestyle Brands for the Mini-Bar Market: The Creation of a Ready-to-Wear Brand for the Mini-Fashion-Bar Market in Thailand” Veridian E-Journal International Humanities, Social Sciences and Arts 10, No.5 (2017): 282.