การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สบู่สมุนไพรแตงกวา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือน ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช Design and Development of Cucumber Herbal Soap Packaging for Sufficiency Economy Community Enterprise Khun Talay Sub-district, Lan Saka District, Nakhon Si Thammarat Province

Main Article Content

เรวัต สุขสิกาญจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สบู่สมุนไพรแตงกวา แบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือน ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช  วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน คือ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล  ศึกษาแนวทางในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์  วางแผนดำเนินการเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์  การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์  นำเสนอต้นแบบบรรจุภัณฑ์  สุดท้ายทดลองผลิตบรรจุภัณฑ์จำหน่ายจริง  แนวทางในการออกแบบและพัฒนาคือ  ออกแบบตราสินค้าใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานเพิ่มขึ้น  และออกแบบบรรจุภัณฑ์สบู่แตงกวาทั้งชนิดก้อนและชนิดเหลว  คณะนักวิจัยและสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทำงานแบบมีส่วนร่วมกันทุกกระบวนการ  การออกแบบ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ออกแบบตราสินค้า และออกแบบบรรจุภัณฑ์ สรุปได้ดังนี้  ตราสินค้า ออกแบบเป็นรูปร่างใบแตงกวาที่มีขอบใบหยักและโค้งเว้า  ซ่อนรูปร่างของใบหน้าผู้หญิงที่พลิ้วตามเส้นสายของใบแตงกวา สื่อถึงความงามจากภายในสู่ภายนอก  ภายใต้ชื่อของตราสินค้าภาษาไทย สุณีย์ เฮิร์บ  และภาษาอังกฤษ sunee herb การออกแบบบรรจุภัณฑ์ มีแนวความคิดการถ่ายทอดเรื่องราว ส่งต่อคุณค่า  ออกแบบกราฟิกโดยใช้ภาพประกอบที่เป็นเทคนิคการเขียนรูปสีน้ำของผลและใบแตงกวา มีสีขาวและเขียวเป็นหลัก  สื่อถึงความสะอาดและสดชื่น ประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์สบู่แตงกวาชนิดก้อน ขนาด 10, 50 และ 80 กรัม สบู่แตงกวาชนิดเหลว ขนาด 50 และ 250 มิลลิลิตร ผลงานการวิจัยนี้ สามารถนำไปต่อยอดแนวความคิดสำหรับการสร้างสรรค์และผลิตจำหน่ายได้จริง  ซึ่งทำให้สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  เกิดความภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สามารถเพิ่มมูลค่าสบู่สมุนไพรจากแตงกวา ยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาตนเองเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชอบ เข็มกลัด และ โกวิทย์ พวงงาม. (2547). การวิจัยเชิงปฏิบัติการณ์อย่างมีส่วนร่วมเชิงประยุกต์. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2548). ออกแบบให้โดนใจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
ไชยรัตน์ ปราณี. (2545). การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และ ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. (2542). การบรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: วังอักษร.
ประชิด ทิณบุตร. (2531). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
ปัณณ์ณัช ธนัทพรรษรัตน์ และ ฉันทนา สุรัสวดี. (2558). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนโดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน
บ้านคลองเดื่อพัฒนา ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี.
วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(3), 76-89.
มติชนออนไลน์. (2559). กางพิมพ์เขียว ไทยแลนด์ d.e ในมือ สุวิทย์ เมษินทรีย์. (ออนไลน์). ได้จาก : https://www.matichon.co.th/news/405820 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2562].
มยุรี ภาคลำเจียก. (2556). บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค. กรุงเทพฯ: หยี่เฮง.
วัฒนา บรรเทิงสุข. (2546). การวิจัยเชิงปฏิบัติการณ์แบบมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้สมุนไพรในชุมชนบ้านซากตับเต่า จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
อมรรัตน์ บุญสว่าง. (2559). การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมสินค้าอาหารเอกลักษณ์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(2), 33-60.
ฤธรรมรง ปลัดสงคราม พฤทธิพงศ์ พุฒขาว มณฑิตา พราหมณโชติ พหล รงค์กุล
และ จันททร์ธิมา. (2562). การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับแกงแพะ
จันทิมาฟาร์มแพะ จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 11(4), 318-330.