แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเชิงนิเวศเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ: กรณีศึกษาการปรับปรุงศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ The improvement guidelines of materials used in eco-architecture construction for promoting biodiversity: A case study of Khao Yai National Park Visitor Center

Main Article Content

ธนกร วีระวุธ

บทคัดย่อ

แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเชิงนิเวศถูกศึกษาและนำเสนอ เพื่อสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพ จากการสำรวจอาคารและพื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบว่ามีการก่อสร้างอาคารโดยไม่คำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพ นำไปสู่การทดลองสร้างระบบนิเวศจำลอง ผลการทดลอง พบว่า มีสัตว์เข้ามาอยู่อาศัยหลายชนิด โดยมีค่าดัชนีความหลากหลายมากที่สุด 1.08 (ค่าดัชนีความหลากหลายขึ้นอยู่กับจำนวนและชนิดไฟลัมของสัตว์ที่พบ โดยมีค่าเท่ากับ 0 ถึง 5) ในสภาพแวดล้อมที่มีค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 82.45 % ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้ามาอยู่อาศัยและดำรงอยู่ของพืชและสัตว์ ได้แก่ 1) ค่าความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม 2) การมีอยู่ของสารอาหาร 3) การมีพื้นที่อยู่อาศัย และ 4) แสงแดดที่เหมาะสม ซึ่งนำมาสู่ความหลากหลายทางชีวภาพ จากปัจจัยดังกล่าว ได้มีการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ต้นแบบ ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยการปรับปรุงผนัง วัสดุมุงหลังคา และภูมิทัศน์รอบอาคาร เพื่อรองรับการเข้ามาอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ผลจากการออกแบบ คือ เปลือกอาคารที่ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ มีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเพื่อควบคุมแสงแดด ความชื้นให้เหมาะสมแก่พืชแต่ละชนิด และมีรูปแบบที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของพืชและสัตว์ ประกอบกับการสร้างการเชื่อมต่อทางนิเวศในแต่ละหน่วยย่อยของกำแพง การสร้างทางเชื่อมป่า และการปรับเปลี่ยนวัสดุปิดผิวผนังและวัสดุมุงหลังคาของอาคาร

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ เหลืองเจริญรัตน์, และ สิงห์ อินทรชูโต. (2556). เกณฑ์ประเมินอาคารที่ยั่งยืน: ความเหมือน ความต่าง และค่าความสำคัญที่ให้ต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และพลังงาน. Journal of Architectural Research and Studies, 10(1), 5-18.
ชัยวัฒน์ ประมวล. (2556). ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร: กลุ่มไส้เดือน. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://chm-thai.onep.go.th/chm/agricluture_ecosystem/Status/
a5.html [สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 กรกฎาคม 2564]
ดอกรัก มารอด, และ อุทิศ กุฏอินทร์. (2552). นิเวศวิทยาป่าไม้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสยามการพิมพ์.
ธรรมนูญ เต็มไชย และคณะ. (2559). ภูมิภาพความหลากหลายของไม้ยืนต้นในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การประชุมวิชาการการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 (น. 81). น่าน: ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดเพชรบุรี.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.onep.go.th/ebook/soe
/soereport 2017.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 กรกฎาคม 2564]
Hughes, A. C. (2017). Southeast Asia is in the grip of a biodiversity crisis. [Online]. Retrieved from https://www.deccanherald.com/content/614313/Southeast-asia-grip-biodiversity-crisis.html?utm_source=Mekong+Eye&utm_campaign=a4aa62c1dd-EMAIL_CAMPAIGN_2017_05_30&utm_medium=email&utm_term=0_5d4083d243-a4aa62c1dd-380869617 [accessed 20 July 2021]
Rathoure, A. K. (2020). Carbon Footprint and Impact on Biodiversity. Biodiversity International Journal, 4(2), 109-110.