การออกแบบภูมิทัศน์พื้นที่เสียเปล่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวของชุมชนเมือง Landscape Design in Waste Spaces for Increasing Urban Communities’ Green Spaces

Main Article Content

พรชัย จิตติวสุรัตน์

บทคัดย่อ

การศึกษาพื้นที่ว่างในย่านเจริญกรุง บางรัก เพื่อค้นหาและจำแนกพื้นที่เสียเปล่าในลักษณะต่างๆ มีการเก็บข้อมูล 2 ส่วน คือ การสำรวจลักษณะกายภาพของพื้นที่ และการสังเกตการณ์กิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ พบว่า มีพื้นที่ว่างที่สามารถนำมาเป็นพื้นที่ว่างเป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว แบ่งประเภทตามเกณฑ์บริบทได้ดังนี้คือ 1) พื้นที่ว่างเขตทาง 2) พื้นที่ว่างด้านหน้าอาคาร 3) พื้นที่ว่างรอบอาคาร และ 4) พื้นที่ว่างอิสระ ผลการวิเคราะห์พบว่า พื้นที่ว่างเหล่านี้มีลักษณะของพื้นที่ว่างเสียเปล่า ได้แก่ 1) พื้นที่ว่างไม่มีการใช้ประโยชน์ 2) พื้นที่ว่างมีการใช้ประโยชน์ต่ำกว่ามาตรฐาน และ 3) พื้นที่ว่างเศษเหลือ การปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่เสียเปล่าให้เป็นพื้นที่สีเขียวอย่างเหมาะสม เป็นออกแบบภูมิทัศน์ในประเด็นดังนี้คือ 1) รูปแบบพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ใช้สอย และการเชื่อมโยงพื้นที่ 2) องค์ประกอบของพื้นที่ ได้แก่ พื้นผิวรองรับการใช้งาน สิ่งอำนวยความสะดวก และพืชพันธุ์ 3) ด้านสุนทรียภาพ ได้แก่ บรรยากาศของพื้นที่ เช่น ความร่มรื่น เป็นระเบียบเรียบร้อย เรียบง่าย เป็นต้น ทำให้ชุมชนเมืองที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการก่อสร้างรองรับกิจกรรมสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับอาณาบริเวณนั้นๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จามรี อาระยานิมิตสกุล. 2558. พืชพันธุ์ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. 2560. แนวทางการจัดการพื้นที่สีเขียวและมาตรฐานอัตราส่วนพื้นที่สีเขียว สำหรับชุมชนเมืองในประเทศไทย โครงการ “การพัฒนาที่ยั่งยืนของเมืองและชุมชน ภายใต้คณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน (AWGESC)“ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ ปัจจุบัน. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://203.155.220.230/m.info/nowbma, [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2561].
สุพักตรา สุทธสุภา. 2540. พื้นที่โล่ง : องค์ประกอบในผังเมือง. หน้าจั่ว ฉบับที่15 : หน้า 121-128.
Ismail Haque. 2016. Utilization of Leftover Spaces Subsequent to Flyover Construction and Socioeconomic Aspects of Residents below Them - Evidences from Kolkata. 9th International Geographical Union (IGU) Conference 18-20th March, 2016 Shaheed Bhagat Singh College, University of Delhi India. [Online]. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/320518703 [accessed 4 May 2019].
Trancik , Roger. 1986. Finding lost space. New York : Van nostrand reinhold company.
World Health Organization Regional Office for Europe. 2017. Urban green spaces: a brief for action. [Online]. Retrieved from http:// www.euro.who.int [accessed 1 May 2019].