การรับรู้มาตรการความปลอดภัย ทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัย ของแรงงานก่อสร้าง: กรณีศึกษาบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้มาตรการความปลอดภัย ทัศนคติความปลอดภัย และ พฤติกรรมความปลอดภัยของแรงงานงานก่อสร้าง และ 2) ศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของทัศนคติความปลอดภัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้มาตรการความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัย เก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interviews) จากกลุ่มตัวอย่างแรงงานก่อสร้างจำนวน 67 คน คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) จากโครงการของบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่ง จำนวน 2 โครงการ วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นด้วยค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย และ วิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านของทัศนคติความปลอดภัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้มาตรการความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัย ตามแนวทางการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านของบารอน และเคนนี่ (Baron & Kenny, 1986) ร่วมกับวิธีบูทสแตรปปิง (Bootstrapping) เพื่อยืนยันค่าอิทธิพลทางอ้อมผ่านตัวแปรส่งผ่าน (Preacher & Hayes, 2004) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมความปลอดภัยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีการรับรู้มาตรการความปลอดภัยและทัศนคติความปลอดภัยอยู่ในระดับมากค่อนไปหาระดับมากที่สุด และ 2) ทัศนคติความปลอดภัย เป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (Complete Mediation) ของความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้มาตรการความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
Gamble, T. K., & Gamble, M. (2012). Communication Works. (11th ed.). New York, NY: McGraw-Hill.
Kline, R .B. (2016). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. (4th ed.). New York, NY: Guilford Press.
McDonald, S. M. (2012). Perception: A Concept Analysis. International Journal of Nursing Knowledge, 23(1), 2-9.
O’Toole, M. (2002). The Relationship between Employees’ Perceptions of Safety and Organizational Culture. Journal of Safety Research, 33(2002), 231-243.
Preacher, K. J., & Hayes, A. F. (2004). SPSS and SAS Procedures for Estimating Indirect Effects in Simple Mediation Models. Behavior Research Methods, Instruments, & Computers, 36(4), 717-731.
กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2543). ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง สำหรับผู้ควบงาน. [ออนไลน์], ได้จาก: http://osh.labour.go.th [สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2563].
กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2548). คู่มือดูแลความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง. [ออนไลน์], ได้จาก: http://osh.labour.go.th [สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2563].
กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2554). คู่มือแนวการจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้าง. [ออนไลน์], ได้จาก: http://osh.labour.go.th [สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2563].
กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2561). คูมือการบริหารงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย: โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตของสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยการบริหารงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย. [ออนไลน์], ได้จาก: http://osh.labour.go.th [สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2563].
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.
ภัทรทิยา กิจจิว. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สรญา พุทธขิน พรรัตน์ แสดงหาญ และ อภิญญา อิงอาจ. (2558). ทัศนคติความปลอดภัย การรับรู้การปฏิบัติตามกฎหมาย และพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงาน ในเขตนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทองจังหวัดชลบุรี. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 4(2), 50-68.