การเปลี่ยนแปลงย่านการค้าเก่าเมืองนครราชสีมาและโอกาสในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

Main Article Content

การุณย์ ศุภมิตรโยธิน

บทคัดย่อ

      บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงย่านการค้าเก่าเมืองนครราชสีมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ พร้อมทั้งระบุเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น รวมถึงวิเคราะห์โอกาสในการพัฒนาย่านดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ จากศึกษาสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของย่านตามยุคสมัยได้ 5 ยุค ได้แก่ ยุคก่อตั้งเมือง ยุคหลังเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา    ยุคก่อสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีและปรับปรุงคูเมืองกำแพงเมือง ยุคผลกระทบจากสงครามเวียดนาม และยุคพัฒนาเมืองจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองการปกครอง ผลกระทบจากภัยสงคราม การพัฒนาระบบโครงข่ายการคมนาคม และนโยบายการพัฒนาเมืองเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดการขยายตัวของย่านการค้าไปยังสถานีรถไฟ สถานที่สำคัญ ถนนและตลาดที่สร้างขึ้นใหม่ ถึงแม้ว่าย่านการค้าเก่าเมืองนครราชสีมาจะประสบปัญหาความซบเซาด้านการค้าในปัจจุบัน แต่ยังมีโอกาสที่จะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ได้ อันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้น ได้แก่ โครงการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์พัฒนาบริเวณเมืองเก่านครราชสีมา โครงการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะและแผนแม่บทระบบจราจรในเขตเมืองนครราชสีมาและพื้นที่ต่อเนื่อง รวมถึงโครงการนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงใต้ดิน นอกจากนั้นการจัดเทศกาลงานประเพณีประจำปีที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน องค์กรอิสระ และหน่วยงานราชการจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของย่านด้วยการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. (2541). นิราศหนองคาย ของ หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) . พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
นิธิ ลิศนันท์. (2559). การเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่สาธารณะในเมืองเก่านครราชสีมา. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15(1), 131-152.
ภัทระ ไมตระรัตน์. (2552). การพัฒนาพื้นที่และความหมายทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่เมืองเก่านครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2562). ย้อนเรื่องเมืองโคราช: โคราชในความทรงจำ. พิมพ์ครั้งแรก. นครราชสีมา: ยืนหยัดชัดเจน.
รังสิมา กุลพัฒน์ จิตรมณี ดีอุดมทรัพย์ มาริสา หิรัญตียะกุล. (2562). เมืองนครราชสีมา: การศึกษาเมืองเก่าผ่านประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานและมรดกทางสถาปัตยกรรม. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, 16(1), 62-101.
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2562). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่านครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2558). โคราชของเรา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.
สำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา. (2548). บันทึกเจ็ดสิบปีที่โคราช. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา: สำนักงาน.
หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา. (2542). ย้อนรอย ๑๐๐ ปี โคราชวาณิช. กรุงเทพฯ: ฟิวเจอร์ เพรส แอนด์ มีเดีย.