การพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานที่ออนไลน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมระบบบริหารจัดการสถานที่ออนไลน์
โดยได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมาและความต้องการของบุคลากร พัฒนาโปรแกรมระบบฐานข้อมูล และศึกษาความพึงพอใจของบุคลากร
ที่มีต่อโปรแกรมระบบบริหารจัดการสถานที่ออนไลน์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างในที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่บุคลากรสายวิชาการ จำนวน 49 คน และบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 14 คน ที่สังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวนทั้งหมด 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ โปรแกรมระบบบริหารจัดการสถานที่ออนไลน์ และแบบสอบถามแบบ
มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อศึกษาความต้องการใช้โปรแกรมระบบบริหารจัดการสถานที่ออนไลน์ จำนวน 18 ข้อ และความพึงพอใจของบุคลากรหลังการใช้โปแกรมระบบบริหารจัดการสถานที่ออนไลน์ 18 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) โปรแกรมระบบบริหารจัดการสถานที่ออนไลน์ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ระบบฐานข้อมูลสถานที่ ระบบฐานข้อมูลผู้ใช้ ระบบบริหารจัดการ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าเป็นโปรแกรมที่มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดที่มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากัน คือ ความถูกต้องของระบบงานตามระเบียบงานอาคารสถานที่ การออกแบบการใช้สีตัวอักษรอ่านง่ายชัดเจน การพิมพ์บันทึกรายการผลถูกต้องเหมาะสม โปรแกรมสามารถเรียกใช้งานและเลิกใช้งานได้ง่าย และรูปแบบเมนูเข้าใจง่าย 2) บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมระบบบริหารจัดการสถานที่ออนไลน์ กล่าวคือ มีความคิดเห็นต่อโปรแกรมระบบฐานข้อมูลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ระบบบันทึกรายการสถานที่ ระบบแก้ไขรายการผู้ใช้ ระบบบันทึกรายการหมวดหมู่ ระบบแก้ไขรายการสถานที่ และระบบแก้ไขรายการหมวดหมู่ ตามลำดับ ระบบที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุดที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 3 ระบบ คือ ระบบสืบค้นรายการสถานที่ ระบบสืบค้นรายการผู้ใช้ และสืบค้นรายการหมวดหมู่
ผลการศึกษาค้นคว้าชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมระบบบริหารจัดการสถานที่ออนไลน์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ผู้ศึกษาค้นคว้า
ได้พัฒนาขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน และสามารถปรับไปใช้งานได้กับงานโสตทัศนูปกรณ์ ของหน่วยงานอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
ทิพวรรณ อู่ทรัพย์. (2544). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารของวิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์. รายงานการค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี. (2547). การพัฒนาโปรแกรมระบบฐานข้อมูล ด้านงานทะเบียนนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. รายงานการค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิลาวรรณ วงศ์ศิลปมรกต. (2546). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบออนไลน์โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยีเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปรียาพร วงศ์อนุโรจน์. (2535). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม กรุงเทพฯ.
พันธ์ศักดิ์ ปินไชย. (2545). การพัฒนาระบบสารสนเทศ สำหรับการจัดการสินค้าคงคลัง การจัดซื้อและการจัดจำหน่าย : กรณีศึกษา บริษัท นพดลพานิช จำกัด. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพรัช ธัชยพงษ์ และ พิเชษฐ์ ดุรงคเวโรจน์. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ .
สนทยา พลพาลสังข์และรัชชนันท์ หลาบมาลา. (2560). การพัฒนาการพัฒนาระบบจองห้องพักออนไลน์ กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติตาดโตน. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2561). (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพมหานคร : สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ.
Barrett D. Scott. (2000). Factors and Their Effect in the Principals’ Utilization of a Management Information. Disseertation Abstracts Internation. 8(61) : 3002-A ; February, 2001. Dubois, Paul. MySQL. 1 st ed. Indianapolis : New Riders Publishing.
Eales, R.T.J. (2004). A Knowledge Management Approach to User Support. Conferences in Research and Practice in Information Technology,28 [online] Available from : http://crpit.com/confpapers/CRPITV28Eales.pdf [accessed 4 March 2020].