โครงการออกแบบกราฟิกเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทเครื่องปั้นดินเผากรณีศึกษากลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อจังหวัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาและพัฒนาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาของจังหวัดมหาสารคาม โดยมีกรณีศึกษาคือกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ หมู่ที่ 11 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เพื่อผลักดันและส่งเสริมผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาของจังหวัดมหาสารคามด้วยการออกแบบตราสินค้า (Logo) ให้กับผลิตภัณฑ์ โดยให้นิสิตชั้นปีที่ 3 จำนวน 11 คน สาขานฤมิตศิลป์ วิชาเอกออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ได้ทำการออกแบบตราสินค้าจำนวน 11 รูปแบบ โดยในเบื้องต้นสอบถามความพึงพอใจของสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ จำนวน 13 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่รูปแบบตราสินค้าที่ออกแบบโดยนิสิต 11 รูปแบบ
สรุปผลการวิจัยการรับรู้ความพึงพอใจของสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อที่ต่อตราสินค้า (Logo) พบว่าตราสินค้าที่สมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อชื่นชอบคือรูปแบบที่ 9 และให้เหตุผลว่าเป็นตราสัญลักษณ์ที่ใช้สองมือปั้นดินเป็นรูปหม้อซึ่งสามารถสะท้อนได้ถึงความเป็นเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อได้
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กฤษฎา นาคเทวัญ. (2555). การออกแบบกราฟิก. [Online]. ได้จาก: www.sorndesign.com [สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2555].
ปาพจน์ หนุนภักดี. (2553.) Graphic Design Principles. พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี: ไอดีซีฯ.
ประดิษฐ์ จุมพลเสถียร. (2547). การสร้างแบรนด์และการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: แพค อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2549). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม: มูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการออกแบบและการวางแผน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
สุดสาคร ไชยโยชน์. (2559). สัมภาษณ์กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ หมู่ที่ 11 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559.
Lindlof, T. R., & Taylor, B. C. (2002). Qualitative Communication Research Methods,2nd Edition. Thousand Oaks, CA: Sage.
Wichanat, T., & Kevin, H. (2015). Logo Design for local cloth weaving products in Mahasarakham province, Thailand. Business and Social Sciences Research Conference.