กระบวนการทำงานเพื่อชุมชนในการออกแบบวิหารพระอุปคุต ณ สวนสาธารณะหนองแวง จ.มหาสารคาม

Main Article Content

วรากุล ตันทนะเทวินทร์
วิวัฒน์ วอทอง
ธเนศ ฉัตรจุฑามณี
สายลม โกษาเฉวียง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนในศึกษาเพื่อการออกแบบวิหารพระอุปคุตกลางน้ำและภูมิทัศน์โดยรอบ ณ สวนสาธารณะหนองแวง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สำหรับกิจกรรมงานบุญประเพณีและกิจกรรมชุมชน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการพัฒนางานออกแบบร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่องในแต่ละขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการออกแบบและก่อสร้าง และการจัดการ/การจัดสรรผลประโยชน์ ซึ่งสามารถนำไปออกแบบวิหารสำหรับประดิษฐานพระอุปคุตตามที่ชุมชนต้องการ คือ วิหารที่มีลักษณะรูปทรง การประดับตกแต่ง และโครงสร้างอาคารที่เรียบง่าย แต่คงแสดงลักษณะศิลปะสถาปัตยกรรมที่ชุมชนคุ้นเคยในรูปแบบไทย-ล้านช้าง (ไทยอีสาน) และการใช้พืชพรรณพื้นถิ่นในงานภูมิทัศน์ ภายใต้ข้อจำกัดในด้านงบประมาณและบริบทชุมชน นอกจากนั้นในแต่ละขั้นตอนของการทำงานในการออกแบบนั้นเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ออกแบบและชุมชนในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมประเภท  ศาสนสถานและงานภูมิทัศน์ โดยความตั้งใจในการทำงานของผู้นำชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และความรู้ความเข้าใจในทิศทางเดียวกันของคนในชุมชนนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานให้สำเร็จอย่างยิ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตจำนงค์ กิติกีรติ. (2536). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุณพินอักษรกิจ.

ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2534). การพัฒนาชุมชนเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

ทศพล กฤตยพิสิฐ. (2537). การมีส่วนร่วมของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เขตหนองจอก ที่มีต่อโครงการกิจกรรมการพัฒนาตามแนวทาง บรม และ บวร เพื่อสร้างสรรอุดมการณ์แผ่นดินทองหนองจอก. กรุงเทพฯ : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

วรากุล ตันทนะเทวินทร์, วิวัฒน์ วอทอง, ธนายุทธ ไชยธงรัตน์ และ ธเนศ ฉัตรจุฑามณี. (2562). การศึกษาแนวทางในการออกแบบวิหารพระอุปคุตกลางน้ำ ณ สวนสาธารณะหนองแวง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Kemmis, S. and R. McTaggart. (1988). Action and Knowledge: Breaking the Monopoly with Participatory Action- Research. New York: Apex.