การออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ทรงภพ เมฆพรรณโอภาส
อำภา บัวระภา
ธีรดา นามไห

บทคัดย่อ

การออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มีการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสำรวจและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการศึกษา พบว่า พื้นที่เกษตรกรรมใช้ปลูกข้าวมานาน การเกษตรในอดีตพึ่งพาธรรมชาติ ต่อมามุ่งเน้นเพื่อการจำหน่าย มีการใช้เครื่องจักรเพื่อปรับหน้าดิน มีปัญหาการขาดแคลนน้ำและดินมีคุณภาพต่ำ เกษตรกรจึงใช้ปุ๋ยและสารเคมีเพื่อรักษาปริมาณผลผลิต ทำให้เกิดการปนเปื้อนในดิน และผลผลิตทางการเกษตร การเกษตรลดความหลากหลายของพืชพรรณและสัตว์ ลดความซับซ้อนของระบบนิเวศ ทำให้ระบบนิเวศขาดเสถียรภาพ การเกษตรสวนทางกับการสร้างความยั่งยืน แนวทางการพัฒนา คือ การออกแบบพื้นที่เพื่อสร้างรายได้และฟื้นฟูระบบนิเวศ ตามหลัก “วนเกษตร” การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและดินเค็ม เน้นการใช้พืชพรรณที่หลากหลาย เช่น ไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ พืชไร่ พืชสวน พืชผัก และพืชสมุนไพร สร้างความซับซ้อนให้ระบบนิเวศเกษตรกรรม รักษาความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ และคณะ. (มปป). วนเกษตร เกษตรกรรมยั่งยืนในภาคอีสาน คู่มือการทำวนเกษตร. รุ่งศิลป์การพิมพ์. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับ คณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีสานในคณะกรรมการประสานงานองค์กร

พัฒนาชนบทภาคอีสาน.

Claudia Dinep and Kristin Schwab. (2010). Sustainable site design : John Wiley & Son,Inc, New Jersey.

Wenche Dramstad, James D. Olson, and Richard T.T. Forman. (1996). Landscape Ecology Principles In Landscape Architecture And Land-Use Planning. : Harvard University Graduate school design.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (มปป.). เกษตรทฤษฎีใหม่. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.chaipat.or.th/2010-06-03-06-17-29.html. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563].

สํานักงานจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคามพ.ศ. 2561 – 2564. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.mahasarakham.go.th/mkweb/images/yut/1.2561-2564.pdf. [สืบค้นเมื่อ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563].

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม. (2552). การใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.moac-info.net/MahaSarakham/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=165. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 29 มกราคม 2563].

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักสถิติแห่งชาติ. (2563). ข้อมูลการใช้ที่ดิน.[ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/socio/LandUtilization2562.pdf. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 21 มกราคม 2563].

สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (มปป.). ชุดดินมหาสารคาม. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://oss101.ldd.go.th/thaisoils_museum/pf_desc/northeast/Msk.htm. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563].

กลุ่มเกษตรกร. (2563). รูปแบบเกษตรกรรม ปัญหา ผลกระท. : สถานที่ สมาคมไทบ้านตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. [สัมภาษณ์วันที่ 11 มกราคม 2563].

นายกสมาคมไทบ้าน. (2563). การทำเกษตรเกษตรอินทรีย์ : สถานที่ สมาคมไทบ้านตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. [สัมภาษณ์วันที่ 11 มกราคม 2563].