การศึกษาอัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์ และด้านกายภาพโดยกระบวนการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา บ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

เมธี พิริยการนนท์

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาอัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์ กายภาพ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมกรณีศึกษา บ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา จังหวัดมหาสารคาม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์ทางกายภาพของชุมชนบ้านเชียงเหียนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนพร้อมเสนอแนะข้อมูลอัตลักษณ์ในการสร้างการรับรู้ของคนในพื้นที่ เพื่อเสนอแนะแนวทางจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้อัตลักษณ์ของชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คนในชุมชน เยาวชน และผู้นำชุมชน การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัย ประกอบด้วยการบันทึกจากคำบอกเล่า การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม และการทำกิจกรรมร่วมกันในการประชุมประชาชนตามกลุ่มเป้าหมาย  ซึ่งผลสรุปของงานวิจัยนี้ทำให้เห็นว่ากระบวนการมีส่วนร่วมกับการศึกษาอัตลักษณ์ชุมชน คือ (1) กลุ่มเป้าหมายต้องมีความครอบคลุม ทุกประเภท ทุกลุ่มอายุ ฯลฯ  (2) การทำงานการมีส่วนร่วมชุมชนชนบทจะประสบผลสำเร็จได้นั้น กลุ่มคนที่มีอำนาจในการขับเคลื่อนเรื่องอัตลักษณ์ (Key Person) มีความสำคัญมากในการทำงานวิจัยนี้มาก (3) การใช้เครื่องมือในการทำวิจัยด้านอัตลักษณ์ต้องมีความหลากหลายและสอดคล้องกับบริบท (4) การมีส่วนร่วมในหลายภาคส่วนให้หาคนที่มีบทบาทที่สามารถยึดเหนี่ยวคนในชุมชนมาทำงานร่วมกันได้   (5) สร้างเป้าหมายร่วมกัน อยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม และสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ถึงจะเกิดการสร้างความภาคภูมิใจให้กับชุมชนตัวเอง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.(2557).โครงการหมอนเข็มองค์ประกอบในการอนุรักษ์และสืบสานพิธีกรรมบุญกฐิน ของชุมชนบ้านเชียง เหียน จังหวัดมหาสารคาม สนับสนุนโครงการทำ นุบำ รุงศิลปะและวัฒนธรรม “โครงการหนึ่งคณะหนึ่ง ศิลปวัฒนธรรม”ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 .มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2524). การระดมประชาชนเพื่อการพัฒนาชนบท. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ชยันต์ วรรธนะภูติ. (2536). การกำหนดกรอบคิดในการวิจัย ในคู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวทิยาลยัขอนแก่น.

ดุษฎี บุญกฤษ์ และไขศรี ภักดสุขเจริญ. (2562). รูปแบบการค้นหาเส้นทางในพื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ย่านพระอาทิตย์กรุงเทพมหานคร. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 1(2), 68-84.

ธงชัย สมบูรณ์. (2549). อัตลักษณ์ของชาติตามนโยบายการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.กรุงเทพฯ.

ธีรยุทธ บุญมี. (2546). ความหลากหลายของชีวิตความหลากหลายทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สายธาร.

เมธี พิริยการนนท์ , กฤษณุ ผโลปกรณ์. (2556). แนวทางการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้อัตลักษณ์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

พาขวัญ รูปแก้ว และไตรวัฒน์ วิรยศิริ. (2562). ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ให้บริการตรวจรักษาและส่วนเกี่ยวเนื่องแผนกผู้ป่วยนอก : กรณีศึกษาแผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวช. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 1(2), 24-37.

Trewartha, G. T. (1969). A geography of population world pattern. New York: John Wiley & Son Inc.