บ้านรักษ์ธรรมชาติเพื่อการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลนาปรือ จังหวัดปราจีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาแนวทางการก่อสร้างบ้านต้นทุนต่ำเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาเทศบาลตำบลนาปรือ จังหวัดปราจีนบุรี เน้นใช้วัสดุในพื้นที่ที่หาได้งาย ได้แก่ ดิน ผลิตเป็นวัสดุก่อสร้างโดยเลือกนำมาผลิตอิฐประสาน และก่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัย โดยวิเคราะห์ขั้นตอน วิธีการ ต้นทุน ข้อดีข้อเสีย จากผลการศึกษาพบว่า การผลิตอิฐประสานโดยใช้ดินลูกรังในพื้นที่ ต้องทำการปรับปรุงดินโดยการเติมด้วยทรายแป้ง ในอัตราส่วน ดินลูกรัง : ทรายแป้ง 2:1 แล้วนำดินที่ปรับปรุงไปผลิตอิฐประสานในอัตราส่วน ปูนซีเมนต์ : ดินปรับปรุง 1:7 ทำให้ผลิตอิฐประสานได้ง่ายและมีความสวยงาม มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ วว. โดยมีต้นทุนเท่ากับ 5.75 บาทต่อก้อน ด้านขั้นตอนการก่อสร้างพบว่าการก่อสร้างบ้านด้วยอิฐประสานควรออกแบบเป็นบ้านระบบผนังรับแรง งานโครงสร้าง ฐานรากเป็นแบบต่อเนื่องรับแนวผนังอิฐประสาน โดยก่อจนถึงระดับคานหลังคาเพื่อรับน้ำหนักจากโครงหลังคา โดยไม่ต้องมีเสาตอม่อ คานคอดิน และเสา และผนังยังใช้เป็นส่วนกั้นห้องด้วย บ้านอิฐประสานไม่ต้องฉาบทั้งภายในและภายนอก มีราคาต้นทุนในการก่อสร้างรวมค่าภาษีกำไรและค่าดำเนินการเท่ากับ 7,729 บาทต่อตารางเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับราคาบ้านเดี่ยวตึกชั้นเดียวอ้างอิงราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2559 มีราคาเท่ากับ 12,600 บาทต่อตารางเมตร บ้านอิฐประสานมีราคาก่อสร้างต่ำกว่าร้อยละ 38 เป็นผลมาจากกิจกรรมการก่อสร้างของบ้านอิฐประสานที่มีความแตกต่างจากบ้านตึกเดี่ยวทั่วไปจึงทำให้ประหยัดทั้งค่าแรงและค่าวัสดุในการก่อสร้าง อีกทั้งบ้านอิฐประสานยังมีต้นทุนสิ่งแวดล้อมต่ำเนื่องวัสดุหลักทำมาจากดิน สามารถผลิตวัสดุได้เอง จึงควรส่งเสริมให้มีการใช้สร้างเป็นที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านที่อยู่อาศัยต่อไป
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
จิรศักดิ์ เพ็ชรวิภาต. (2545). ตำนานบล็อกดินซีเมนต์ และอิฐประสาน วว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 20 ฉบับที่ 2, 39-52.
ณัทเดชาธร สุทธิวารีพงษ์. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบผนังก่ออิฐมอญกับผนังก่ออิฐอิฐประสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สิงหราช มีทิพย์. (2542). การประเมินการก่อสร้างที่อยู่อาศัยด้วยบล็อกดินซีเมนต์. วิทยานิพนธ์ปริญญาเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุบรรณ ตาคำวัน, วิศรุต เรืองฤทธิ์ และอารยา กิ่งหลักเมือง (2558). คุณสมบัติทางกลอิฐประสานผสมเถ้ากะลามะพร้าว. งานประชุมวิชาการครุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 8, 26-27 พฤศจิกายน 2558.
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.602/2547. (2547). อิฐอิฐประสาน. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://tcps.tisi.go.th/public/en/StandardList.aspx [สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563]
ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีชนบท. (2545). เอกสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอิฐประสาน. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
อภิเชษฐ์ ตีคลี. (2562). คุณสมบัติผนังดินมูลกระบือ บ้านหนองโนใต้ ตำบลนาดููน อำเภอนาดููน จังหวัดมหาสารคาม.
วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 1(1), 48-62.
Ali, M., Gultom, R.J., Chouw, N. (2012). Capacity of innovative interlocking blocks under monotonic loading. Construction and Building Materials, 37, 812–821.
ASTM D3282-15. (2015). Standard Practice for Classification of Soils and Soil-Aggregate Mixtures for Highway Construction Purposes, ASTM International. Retrieved from www.astm.org.
Ayed, H.B., Limam, O., Aidi, M., Jelidi, A. (2016). Experimental and numerical study of Interlocking Stabilized Earth Blocks mechanical behavior. Journal of Building Engineering 7, 207-216.
Jeslin, A.J., Padmanaban, I. (2019). Experimental studies on interlocking block as wall panels. Materials Today: Proceedings, 1-6.
Lee, Y.H., Shek, P.N., Mohammad, S. (2017). Structural performance of reinforced interlocking blocks column. Construction and Building Materials, 142(2), 469–481.
Malahayati, N., Hayati, Y., Nursaniah, C., Firsa, T., Fachrurrazi, Munandar, A. (2017). Comparative Study on the Cost of Building Public House Construction Using Red Brick and Interlock Brick Building Material in the City of Banda Aceh IOP Conf. Series: Materials Science and Engineering 352, 1-7.
Mohammed, B.S., Liew, M.S., Alaloul, W.S., Al-Fakih, A., Ibrahim, W., Adamu, M. (2018). evelopment of rubberized geopolymer interlocking bricks. Case Studies in Construction Materials, 8, 401–408.