บ้าน ทางผ่าน คนไร้บ้าน

Main Article Content

ศศิกาญจน์ ศรีโสภณ

บทคัดย่อ

บ้านทางผ่าน(Transitional housing) นับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาและช่วยเหลือให้คนไร้บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรือหลุดพ้นจากสภาวะการเป็นคนไร้บ้านผ่านรูปแบบการเป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว มีเป้าหมายให้คนไร้บ้านมีสุขภาวะที่ดีขึ้นรวมถึงสามารถตั้งหลักกลับไปใช้ชีวิตในสังคมอย่างมั่นคงได้ด้วยตนเองอีกครั้ง บทความนี้มุ่งศึกษาถึงแนวคิดของศูนย์พักพิงคนไร้บ้านในประเทศไทยในบทบาทของบ้านทางผ่าน มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของศูนย์พักพิงกับวิถีชีวิตคนไร้บ้าน อันมีประโยชน์ต่อการไปพัฒนาศูนย์พักพิงคนไร้บ้านที่สอดคล้องกับการใช้งานและจิตใจ นำไปสู่การเสริมสร้างศักยภาพบุคคลและสังคมที่ดีขึ้น โดยมีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการลงพื้นที่สัมภาษณ์และสำรวจ ร่วมกับการศึกษาจากวรรณกรรม แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แบ่งเนื้อหาเป็น 4 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1 อธิบายถึงคำจำกัดความและแนวคิดสำคัญ ส่วนที่ 2 อธิบายถึงแนวทางการจัดที่พักพิงให้คนไร้บ้านในประเทศไทย ส่วนที่ 3 วิเคราะห์บทบาทบ้านทางผ่านกับการเปลี่ยนผ่านของคนไร้บ้านในประเทศไทย ส่วนที่ 4 บทสรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะในการจัดตั้งพัฒนาศูนย์พักพิงหรือศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านในบทบาทบ้านทางผ่านสำหรับคนไร้บ้านในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ญาณิกา อักษรนำ. (2558). พลวัตความหมายคำว่า “บ้าน” ของคนไร้บ้าน. ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยทางสังคม คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ญาณิกา อักษรนำ. (2560). พลวัตความหมายของคำว่า “บ้าน” ของคนไร้บ้าน : กรณีศึกษา ศูนย์พักคนไร้บ้านโดยมููลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 2(1), 39-57.

ดุษฎีบุญกฤษ์ และไขศรีภักดสุขเจริญ. (2562). รูปแบบการค้นหาเส้นทางในพื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ย่านพระอาทิตย์

กรุงเทพมหานคร. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 1(2), 68-84.

เทียนทิพย์ เดียวกี่. (2562). ไร้บ้านไม่ไร้หัวใจ. [ออนไลน์]. ได้จาก: www.thaihealth.or.th [สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 กรกฎาคม 2562].

นพพรรณ พรหมศรี. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษาแนวทางช่วยเหลือบุคคลไร้ที่อยู่อาศัย(คนไร้บ้าน) กรณีการจัดศูนย์พักคนไร้บ้าน.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2546). โลกของคนไร้บ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์กรมหาชน).

บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2552). เปิดพรหมแดน โลกของคนไร้บ้าน. ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต(มานุษยวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

แมว.คนไร้บ้าน. ศูนย์ฟื้นฟูและส่งเสริมศักยภาพคนไรบ้าน จ. ปทุมธานี. (9 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.

รณภูมิ สามัคคีคารมย์. (2558). นิยามและมายาคติกับความเป็นจริงของคนไร้บ้าน ผ่านการสำรวจ ในพื้นที่กรุุงเทพมหานคร.

วารสารวิจัยสัังคม, 40(2), 155-188.

ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร, ฐิตาภา อินทปันตี, ปาริฉัต, หนูเซ่ง, นุชกานต์ กาญจนพันธุ์ และ สิริรัชยาวิลาศ. (2558). ความหมายของคำว่า “บ้าน” ของคนไร้บ้าน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ปีที่8 (1), 1450-1460.

วิชัย นำไทย. คนไร้บ้าน. ศูนย์ฟื้นฟูและส่งเสริมศักยภาพคนไรบ้าน จ. ปทุมธานี. (9 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.

สมพร หารพรม. เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย. (23 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.สำนักบ้านมั่นคง สถาบันพัฒนาอค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน). (2561). ถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาอค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน).

โหนก โมกข์งาม. คนไร้บ้าน. ศูนย์ฟื้นฟูและส่งเสริมศักยภาพคนไรบ้าน จ. ปทุมธานี. (9 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.

อนรรฆ พิทักษ์ธานิน. (2560). รายงานวิจัยการสำรวจข้อมูลทางประชากรเชิงลึกของคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ. (2552). เรื่องของคนไร้บ้านในโลกกลมๆ ใบนี้: ใน "ครอบครัวไทย" ในสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านทางสังคมและประชากร ประชากรและสังคม. นครปฐม:สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.

Burt, M. R. (2006). Characteristics of Transitional Housing for Homeless Families Final Report. Washington, DC: Urban Institute.

Canadian Observatory on Homelessness. (2562). Transitional Housing. [Online]. Retrieved from www.homelesshub.ca/solutions/housing-accommodation-and-supports/transitional-housing [accessed 20 October 2019].

Snow, D. A., and Anderson, L. (1993). Down on Their Luck: A Study of Homeless Street People. Berkeley: University of California.