“อดีต ปัจจุบัน อนาคต” ทิศทางการอนุรักษ์อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

Main Article Content

วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร

บทคัดย่อ

               บทความนี้นำเสนอทิศทางของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม นำเสนอประเด็นของพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ที่สำคัญในประเทศไทย ในบทความจะแบ่งเนื้อหาเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นคำจำจัดความด้านการอนุรักษ์ฯ โดยศึกษาจากกฏหมายและกฏบัตรด้านการอนุรักษ์ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 นำเสนอแนวคิดด้านการอนุรักษ์มรดกทาง วัฒนธรรมที่ผ่านมา ทั้งแนวคิดในส่วนตะวันตกและประเทศไทย โดยสรุปเนื้อหาหลักรวมถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยว ข้อง เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติที่ผ่านมาในอดีต ส่วนที่ 3 เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับสภาวะการณ์ในอดีตและ ปัจจุบันของอุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย โดยยกตัวอย่าง 3 กรณีศึกษาที่สำคัญ คือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย นำเสนอถึงแนวทางปฏิบัติการ อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ในแต่ละพื้นที่ที่มีความหลากหลายแตกต่าง ทั้งในด้านบริบทกายภาพของพื้นที่ รวมถึงปัญหาที่ส่งผลต่อการดำเนินการด้านการอนุรักษ์ ส่วนที่ 4 เป็นการอภิปรายถึงแนวทางการพัฒนาเพื่อนำเสนอทิศทาง ของอุทยานประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2526). จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2532). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติการอนุรักษ์อนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี. กรุงเทพมหานคร:กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. ระเบียบกรมศิลปากรว่าด้วยการอนุรักษ์โบราณสถาน. มปท.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2552). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำแผน แม่บทเพื่อการอนุรักษ์ และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย. มหาสารคาม: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์.

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์แผนแม่บทระยะที่ 2 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2553 โครงการการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิคม มูสิกะคามะ. (2548). แนวปฏิบัติในการสงวนรักษาโบราณสถาน “ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535”. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

ยงธนิศร์ พิมลเสถียร. (2548). “40 ปี หลังเวนิชชาร์เตอร์”.เอกสารประกอบการสัมมนา ประจำปี |2548 2 ทศวรรษอิโคโมสไทย : การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม เส้นทางสู่กฎบัตรประเทศไทย.

ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ. (2552). การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมและชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์.

วสุ โปษยะนันทน์. (2548). “วิเคราะห์ ระเบียบกรมศิลปากรว่าด้วยการอนุรักษ์โบราณสถาน”.เอกสารประกอบการสัมมนาประจำปี 2548 2 ทศวรรษอิโคโมสไทย : การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม เส้นทางสู่กฎบัตรประเทศไทย.

วสุ โปษยะนันทน์. (2537). การศึกษาเปรียบเทียบการบูรณะโบราณสถาน อนัสติโลซิส. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร. (2561). ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย พัฒนาการ แนวความคิด และการคลี่คลายรูปแบบ. ขอนแก่น: เพ็ญ พริ้นติ้ง จำกัด.

สมชาติ จึงสิริอารักษ์.(2545).“วัดกุฎีดาวหลังการบูรณในปี พ.ศ.2544 ปัญหาจินตภาพและความถูกต้องทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม”.เมืองโบราณ, ปีที่ 27(2), 8-14.

สมชาติ จึงสิริอารักษ์.(2555).“ความและแนวความคิดในการอนุรักษ์โบราณสถานของไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน”.เมืองโบราณ, ปีที่ 38(2), 84-103

สมเด็จพระพนรัตน์. (2535). พระราชพงศาวกรุงศรีอยุธยาและจุลยุทธการวงศ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สุนนท์ ปาละกะวงศ์ ณ อยุธยา.(2537). “70ปี แห่งการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรม”. หน้าจั่ววารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, (12), 30-48.

สิทธิพร ภิรมย์รื่น. (2547) “แนวความคิดและหลักการอนุรักษ์ชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม. เอกสารการประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง สถาปัตยกรรมสู่โลกกว้างสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงท้องถิ่น. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, 12-14 พฤษภาคม 2547.

Charter on the Built Vernacular Heritage. (1999). ICOMOS 12th General Assembly, in Mexico, October 1999. Mexico

Charter on the Built Vernacular Heritage. (1999). Charter on the Protection and Management of Underwater Cultural Heritage, Lausanne:1996.

The Fine Arts Department. (1992). Inventory of Sukhothai Monuments in Sukhothai Historical Park.

ICOMOS 12th General Assembly.(1999). International Cultural Tourism Charter, Mexico City:

ICOMOS 12th General Assembly.(1999). The Florence Charter-Historic Gardens, Florence:1981.

ICOMOS 12th General Assembly.(1999). The Venice Charter, Venice:1964.

ICOMOS 12th General Assembly.(1999). Thailand: The Fine Arts Department.

ICOMOS 12th General Assembly.(1999). The Athens Charter for the Restoration of Historic Monuments, Athens: 1931.

ICOMOS 12th General Assembly.(1999). The Burra Charter, “The Australia ICOMOS Charter for Places of Cultural Significance, Burra: 1999.