รูปแบบการค้นหาเส้นทางในพื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ย่านพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ชุมชนประวัติศาสตร์ย่านพระอาทิตย์เป็นพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูงในด้านคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรม ได้แก่ ป้อมพระสุเมรุ วัดชนะสงคราม มัสยิดจักรพงษ์ อาคารพิพิธบางลำพู และสวนสันติชัยปราการ เป็นต้น แต่พื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ย่านพระอาทิตย์กลับมีการใช้งานที่ไม่เต็มศักยภาพและไม่เป็นอเนกประโยชน์ ทั้งๆ ที่พื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ควรมีความสมดุลในการสัญจรเพื่อผ่านและเพื่อเข้าถึงของคนกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่อย่างทั่วถึงโดยเฉพาะการสัญจรทางเท้า
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการค้นหาเส้นทางของกลุ่มคนที่เข้ามาใช้งานพื้นที่2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคยกับพื้นที่ โดยทำการบันทึกรูปแบบของการสัญจรของคนเดินเท้า ในช่วงวันและเวลาต่างๆ การศึกษาพบว่ากลุ่มคนทั้ง 2 ประเภท มีรูปแบบการค้นหาเส้นทางที่แตกต่างกันและแยกออกจากกัน ทำให้เกิดการใช้งานพื้นที่ในบางบริเวณอย่างไม่เป็นอเนกประโยชน์ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงแนวทางการกระจายกิจกรรมของพื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ เพื่อให้เกิดสมดุลของการสัญจรเพื่อผ่านและการสัญจรเพื่อเข้าถึงของคนเดินเท้ากลุ่มต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้น
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
จุฬวดี สันทัด. (2547). การวิเคราะห์โครงข่ายพื้นที่และการสัญจรเพื่อปรับปรุงผังแม่บททางกายภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
ปราณระฟ้า พรหมประวัติ. (2550). สนามทัศน์และรูปแบบการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะของชุมชนเมือง: กรณีศึกษา ชุมชนย่านเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
พศิน สุวรรณเดช. (2558). พฤติกรรมการเดินของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
พัลยมล หางนาค. (2557). รูปแบบพื้นที่และการใช้พื้นที่ของย่านพาหุรัด กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
Dalton, N. (1997). Quick Reference Computer Manual for Student Msc Built Environment: Advanced architectural studies. London: University College London.
Smailes, A. E. (1968). The geography of towns. Chicago: Aldine Pub. Co.