พัฒนาชุดอุปกรณ์ ต่อ-ประกอบไม้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย สำหรับฝึกปฏิบัติการงานไม้
Main Article Content
บทคัดย่อ
เทคโนโลยีงานไม้ มีความสำคัญในการสร้างพื้นฐานทักษะ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ จนถึงการสร้างชิ้นงานจริง การฝึกทักษะและการใช้ความรู้ในการออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์งานไม้ ความสวยงามของผลิตภัณฑ์ไม้ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง ปฏิบัติงานได้อย่างถูกวิธี มีรูปแบบกระบวนการ การเข้าใจเรื่องการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในงานไม้ เพื่อนำทักษะและกระบวนการต่าง ๆ นำไปใช้ได้จริงในการทำงาน และชีวิตประจำวันการพัฒนาชุดอุปกรณ์ ต่อ-ประกอบไม้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย สำหรับฝึกปฏิบัติการงานไม้ ในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เล็งเห็นปัญหาที่จะส่งผลกระทบในการฝึกปฏิบัติการงานไม้ และสามารถลดการใช้อุปกรณ์เพื่อต่อ-ประกอบไม้ และเพิ่มความสะดวก และปลอดภัยในการฝึกปฏิบัติการงานไม้ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการใช้งานได้อีกทางหนึ่ง ส่งผลให้ผู้ที่ใช้งานนั้นเกิดทักษะในการฝึกปฏิบัติการเพื่มมากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการผลิตชิ้นงานได้มีความหลากหลาย และ ได้ชุดอุปกรณ์ ต่อ-ประกอบไม้ ที่ครบถ้วนทั้ง 4 ด้าน คือ (1) ด้านรูปทรง (2) ด้านประโยชน์ใช้สอย (3) ด้านความแข็งแรง และ (4) ด้านการผลิต โดยผลการวิเคราะห์ขั้นตอนในการหารูปแบบ และความเหมาะสมใน การพัฒนาชุดอุปกรณ์ ต่อ-ประกอบไม้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย สำหรับฝึกปฏิบัติการงานไม้ พบว่าผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ความเหมาะสมในขั้นตอน การพัฒนาชุดอุปกรณ์ ต่อ-ประกอบไม้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย สำหรับฝึกปฏิบัติการงานไม้ โดยการประเมินในทั้ง 4 ด้าน ตามกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบ ประโยชน์ใช้สอย ความแข็งแรง และ การผลิต โดยระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.27)ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็น จากการทดสอบ และฝึกปฏิบัติการจาก ชุดอุปกรณ์ สำหรับการต่อ – ประกอบไม้ โดยประเมินจากผู้ฝึกปฏิบัติการงานไม้ ทั้งหมด 30 ท่าน โดยประเมินตามกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย 3 ด้าน คือ หน้าที่ใช้สอย การใช้งาน และความปลอดภัย โดยระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.11)
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
ชาลี ลัทธิ, วรพงษ์ ลีพรหมมา ชวิน เป้าอารีย์ และสุรเดช สุทธาวาทิน. (2527). ช่างทั่วไป. กรุงเทพฯ: กรมอาชีวศึกษา.
นวลน้อย บุญวงศ์. (2539). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัฒนะ จุฑะวิภาต. (2535). การออกแบบ. กรุงเทพฯ : ปรารถนา.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2537). อุบัติเหตุ. เอกสารอัดสำเนา
สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. (2550). การศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สาคร คันธโชติ. (2528). การออกแบบเครื่องเรือน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สาคร คันธโชติ. (2538). การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
อาชัญ นักสอน. (2558). ศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2550). ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.