แนวทางการปรับปรุงแสงสว่างเพื่อความสม่ำเสมอในการส่องสว่าง กรณีศึกษา อาคารตลาดเชิงวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำอาคารตลาดเชิงวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ที่มีการออกแบบเดิมนั้นนำมาทำการทดลองเพื่อหาค่าความส่องสว่างที่เกิดขึ้นภายในอาคาร และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าความส่องสว่างที่เกิดขึ้นในอาคารนั้นเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการส่องสว่างในอาคารตลาดหรือไม่ ซึ่งมีขั้นตอนการวิจัยคือทำการจำลองรูปแบบอาคารลงในโปรแกรม DiaLUX 7.9 โดยทำการทดลองอาคารตลาดรูปแบบเดิมของอาคารกรณีศึกษา จากนั้นประเมินค่าความส่องสว่างสำหรับอาคารตลาดตามเกณฑ์ที่ 500 ลักซ์ ผลการทดลองอาคารเดิมมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของผู้ใช้งานอาคารที่ทำให้เกิดแสงบาดตา โดยทำการทดลองทั้งหมด 3 วัน วันละ 3 ช่วงเวลา คือ ในวันที่ 21 มีนาคม 22 มิถุนายน และ 22 ธันวาคม ในช่วงเวลา 09.00 น. 14.00 น. 16.00 น. จึงได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขด้วยการติดตั้งแผงบังแดดเพื่อแก้ปัญหาค่าความส่องสว่างที่สูงกว่าเกณฑ์ทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) แผงบังแดดแนวนอน (2) แผงบังแดดแนวตั้ง และ (3) แผงบังแดดแบบผสมแนวนอนและแนวตั้ง ผลการศึกษา พบว่า ค่าความส่องสว่างหลังการติดตั้งแผงบังแดดทั้ง 3 รูปแบบ ยังคงมีค่าความส่องสว่างสูงกว่าเกณฑ์ แต่แผงบังแดดแบบผสม มีค่าความส่องสว่างและความสม่ำเสมอของแสงที่ใกล้เคียงกับเกณฑ์มาตรฐานและป้องกันแสงแดดได้ผลดีกว่า การติดตั้งแผงบังแดดแบบแนวนอนและแนวตั้ง เนื่องจากอาคารเป็นอาคารแบบเปิด ไม่มีผนังทั้ง 4 ด้าน จึงทำให้แสงสว่างที่ส่องเข้ามาในอาคารไม่สามารถควบคุมปริมาณการส่องสว่างได้ การทำแผงบังแดดเป็นเพียงการปรับปรุงเบื้องต้นเพื่อให้ได้แสงสว่างที่มีคุณภาพมากขึ้นเท่านั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำอาคารตลาดเชิงวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ที่มีการออกแบบเดิมนั้นนำมาทำการทดลองเพื่อหาค่าความส่องสว่างที่เกิดขึ้นภายในอาคาร และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าความส่องสว่างที่เกิดขึ้นในอาคารนั้นเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการส่องสว่างในอาคารตลาดหรือไม่ ซึ่งมีขั้นตอนการวิจัยคือทำการจำลองรูปแบบอาคารลงในโปรแกรม DiaLUX 7.9 โดยทำการทดลองอาคารตลาดรูปแบบเดิมของอาคารกรณีศึกษา จากนั้นประเมินค่าความส่องสว่างสำหรับอาคารตลาดตามเกณฑ์ที่ 500 ลักซ์ ผลการทดลองอาคารเดิมมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของผู้ใช้งานอาคารที่ทำให้เกิดแสงบาดตา โดยทำการทดลองทั้งหมด 3 วัน วันละ 3 ช่วงเวลา คือ ในวันที่ 21 มีนาคม 22 มิถุนายน และ 22 ธันวาคม ในช่วงเวลา 09.00 น. 14.00 น. 16.00 น. จึงได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขด้วยการติดตั้งแผงบังแดดเพื่อแก้ปัญหาค่าความส่องสว่างที่สูงกว่าเกณฑ์ทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) แผงบังแดดแนวนอน (2) แผงบังแดดแนวตั้ง และ (3) แผงบังแดดแบบผสมแนวนอนและแนวตั้ง ผลการศึกษา พบว่า ค่าความส่องสว่างหลังการติดตั้งแผงบังแดดทั้ง 3 รูปแบบ ยังคงมีค่าความส่องสว่างสูงกว่าเกณฑ์ แต่แผงบังแดดแบบผสม มีค่าความส่องสว่างและความสม่ำเสมอของแสงที่ใกล้เคียงกับเกณฑ์มาตรฐานและป้องกันแสงแดดได้ผลดีกว่า การติดตั้งแผงบังแดดแบบแนวนอนและแนวตั้ง เนื่องจากอาคารเป็นอาคารแบบเปิด ไม่มีผนังทั้ง 4 ด้าน จึงทำให้แสงสว่างที่ส่องเข้ามาในอาคารไม่สามารถควบคุมปริมาณการส่องสว่างได้ การทำแผงบังแดดเป็นเพียงการปรับปรุงเบื้องต้นเพื่อให้ได้แสงสว่างที่มีคุณภาพมากขึ้นเท่านั้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กฎกระทรวง ฉบับที่ 39. (2537). ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ 2522 หมวด 3, เรื่อง ระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศ ข้อ 11. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
ชำนาญ ห่อเกียติ. (2540). เทคนิคการส่องสว่าง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. (2549). โครงการวิจัยออกแบบหลังคาโถงสูงเพื่อความสบายทางด้านแสงสว่างและประหยัดพลังงาน. โครงการวิจัยพลังงานและการออกแบบสถาปัตยกรรม. สาขาสถาปัตยกรรมและการวางแผน. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สมาคมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย. (2559). คู่มือแนวทางการออกแบบการส่องสว่างภายในอาคาร. กรุงเทพฯ: สมาคมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย.
สันติภาพ เพียนอก และชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์. (2558). ประสิทธิภาพวัสดุและการเว้นช่องว่างเพื่อการลดความร้อนด้วยระแนงแนวนอน. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(1), 145-160.
อิศราภรณ์ พงษ์บริบูรณ์. (2554). แนวทางการออกแบบช่องแสงด้านบนหลังคาสำหรับตลาด. วิทยานิพนธ์ปริญญสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
David, M. & Victor, W. Olgyay. (2002). Architectural Lighting. New York: McGraw – Hill.
Norbert, L. (2001). Heating, Cooling, Lighting. New York: John Wiley & Sons Co.
Nzeb. (2018). Shading. [Online]. Retrieved from: http://www.nzeb.in/knowledge. [accessed 26 August 2018].