รูปแบบและปัจจัยการคงอยู่ของภูมิทัศน์พื้นถิ่น “บ้านเรือนและที่อยู่อาศัย” แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รูปแบบและปัจจัยของการคงอยู่ของภูมิทัศน์พื้นถิ่น “บ้านเรือนที่อยู่อาศัย” แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและการจัดการภูมิทัศน์โดยรอบ พบว่า 1) วัฒนธรรมและการสืบเชื้อสายลาวลุ่มมีแนวคิดการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบลุ่ม มีวิถีชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรม 2) คติความเชื่อแบบดั้งเดิมซึ่งไม่ยึดติดกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ความเจริญด้านการคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสมัยใหม่ 3) สภาพเศรษฐกิจของครัวเรือน ทั้ง 3 ปัจจัยส่งผลต่อรูปแบบและการคงอยู่ของบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทั้งภายในตัวเรือนและภูมิทัศน์โดยรอบ โดยแบ่งตามลำดับความใกล้ชิดจากตัวเรือนดังนี้ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ ปลูกผักสวนครัว ปลูกไม้ผล กลุ่มไม้พื้นถิ่น พื้นที่ปลูกข้าว แนวป่าไม้เดิมโอบล้อมโดยภูเขา การวางผังชุมชนเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบเดิมแต่รูปแบบที่อยู่อาศัยและการจัดการภูมิทัศน์โดยรอบยังคงอัตลักษณ์เดิมเอาไว้
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
เกรียงไกร เกิดศิริ. (2551). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์.
นพดล ตั้งสกุล. (2555). แบบแผนที่ว่างในเรือนพื้นถิ่นชาติพันธุ์ไทยลาวในภาคอีสานและ สปป.ลาว. รายงานสรุป ผลการวิจัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2552-2555 โครงการวิจัย การศึกษาแบบองค์รวมของการปรับตัวในบริบทที่แตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ ไท-ลาว ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทย.
นวณัฐ โอศิริ. (2545). ภูมิทัศน์พื้นถิ่น ภูมิปัญญาเพื่อการประหยัดพลังงานและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา หมู่บ้านตาลเหนือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. ในการประชุมสาระศาสตร์: การประชุมวิชาการประจำปี สถาปัตยกรรมและศาสตร์ ครั้งที่ 6 ฉบับการวางแผนภาคและผังเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุนมี เทบสีเมือง. (2553). ความเป็นมาของชนชาติลาว การตั้งถิ่นฐานและการสถาปนาอาณาจักร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.
พยนต์ ทิมเจริญ. (2537). สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว “การเมืองการปกครอง”. ในเอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “แนวทางการวิจัยลาวศึกษา ในประเทศไทย”. วันที่ 22-23 สิงหาคม 2537 ณ โรงแรมโฆษะจังหวัดขอนแก่น. สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย สถาบันศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
วิทย์ บัณฑิตกุล. (2555). สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. หนังสือชุดประชาคมอาเซียน .กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์ จำกัด.
ศนิ ลิ้มทองสกุล. (2549). ภูมิทัศน์พื้นถิ่นของหมู่บ้านชนบทในชุมชนชาวมุสลิมในประเทศไทย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมและการวางผัง, 5(4), 26-36.
อรศิริ ปานินท์ และนพดล จันทวีระ. (2555). รายงานสรุปผลการวิจัย ลาวพวน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อำภา บัวระภา. (2557). ภูมิทัศน์พื้นถิ่น อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารหน้าจั่ว (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในมิติสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรม), 27(3), 45-56.