การประเมินผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด สพฐ.
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปีการศึกษา 2566 จำแนกตามขนาดและที่ตั้งของโรงเรียน 2) ศึกษาคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2566 จำแนกตามขนาดและที่ตั้งของโรงเรียน สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนที่เข้ารับการทดสอบวิชาคณิตศาสตร์สังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2566 จำนวน 282,249 คน จากผลการวิเคราะห์พบว่า 1) นักเรียนที่มีระดับคุณภาพ “ควรปรับปรุงและควรปรับอย่างยิ่ง”จำนวน 35,220 คน คิดเป็น 12.48% และจำนวนนักเรียนที่มีระดับคุณภาพ “ดีมากถึงดีเยี่ยม” มีจำนวน 7,164 คน คิดเป็น 2.54% จำแนกตามโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีจำนวนนักเรียนได้คะแนนระดับดีเยี่ยมมากที่สุด 2,036 คน คิดเป็น 0.72% และโรงเรียนขนาดเล็กมีนักเรียนได้คะแนนระดับดีเยี่ยม 7 คน คิดเป็น 0.00% ในขณะที่โรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกเมืองมีระดับคุณภาพ “ควรปรับปรุงถึงควรปรับปรุงอย่างยิ่ง” มีจำนวน 27,812 คน คิดเป็น 9.85% และระดับคุณภาพ “ดีถึงดีเยี่ยม” จำนวน 4,677 คน คิดเป็น 1.65% สำหรับโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเมืองมีระดับคุณภาพ “ดีถึงดีเยี่ยม” จำนวน 9,438 คน คิดเป็น 3.34% และระดับคุณภาพ “ควรปรับปรุงถึงควรปรับปรุงอย่างยิ่ง” มีจำนวน 7,408 คน คิดเป็น 2.62% โดยนักเรียนส่วนมากจะอยู่ในระดับคุณภาพ “พอใช้ถึงค่อนข้างดี” ทั้งในเมืองและนอกเมือง 2) โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษที่ตั้งอยู่ในเมืองมีคะแนนเฉลี่ยตามสาระการเรียนรู้ที่ 1, 2 และ 3 สูงกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษที่ตั้งอยู่นอกเมือง ในขณะที่โรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในเมืองและนอกเมืองมีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน ทั้ง 3 สาระการเรียนรู้ หากพิจารณาตามมาตรฐานการเรียนรู้ ค 1.1 ค 1.3 ค 2.2 และ ค 3.1 ของโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่พิเศษที่ตั้งอยู่ในเมืองมีคะแนนสูงกว่านอกเมือง ในขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเมืองและนอกเมืองมีคะแนนเฉลี่ยใกล้เคียงกัน หากพิจารณาโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเมืองมีคะแนนรายตัวชี้วัดที่มากกว่า 50% จำนวน 2 ตัวชี้วัด และโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกเมืองมีคะแนนเฉลี่ยรายตัวชี้วัดที่มากกว่า 50% เพียง 1 ตัวชี้วัด และคะแนนเฉลี่ยรายตัวชี้วัดจำแนกตามขนาดโรงเรียนยังไม่มีคะแนนเฉลี่ยตัวชี้วัดใดที่มีค่าเกิน 50%
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
under process
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กันตพัฒน์ มณฑา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 8(2), 289-296.
กิจจาณัฏฐ์ เฉลิมเกียรติศรีนวลสกุล, วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล (2567). การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการของครูโรงเรียนเอกชนเพื่อพัฒนาแนวทางเสริมสร้างความสามารถในการนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(9), 1058-1070.
ชมพูนุช บุญมาวงษา, ชาญวิทย์ หาญรินทร์, และวัชรี แซงบุญเรือง. (2565). วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(2), 124-136.
เนตรนารี ไพโรจน์พิริยะกุล. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 17(1), 17-32.
วิชุดา มาลาสาย. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสว่างแดนดิน. ทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สัมพันธ์ ไทยสรวง, ภานุมาศ จินารัตน์, และสิริพร แสนทวีสุข. (2567). ทักษะเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อการเรียนแบบผสมผสานและคุณภาพการศึกษา. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 9(2), 1633-1646.