การสะท้อนคุณภาพทางการศึกษาจากความสัมพันธ์และพัฒนาการของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และพัฒนาการของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากนักเรียนรายบุคคลเดิมตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นการสะท้อนคุณภาพทางการศึกษาและสร้างแนวทางด้านการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน การวิจัยครั้งนี้นำข้อมูลผลการทดสอบ O-NET ของนักเรียนรายบุคคลย้อนหลัง 6 ปี โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระดับคือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของคะแนนด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ในแต่ละรายวิชา ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ และวิเคราะห์พัฒนาการจากผลต่างของคะแนนมาตรฐานทีรายโรงเรียน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนน O-NET พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายอยู่ที่ 0.63 และ 0.73 แสดงถึงคะแนน O-NET ก่อนเข้าเรียนและหลังจบการศึกษามีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางและระดับค่อนข้างสูง ตามลำดับ
สะท้อนให้เห็นว่าคะแนนแรกเข้าของนักเรียนทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายส่งผล
ในระดับปานกลางและค่อนข้างสูงกับคะแนนหลังจบการศึกษา อย่างไรก็ตามยังสะท้อนให้เห็นว่ามีปัจจัยด้านอื่นที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอีกด้วย ผลการวิเคราะห์พัฒนาการพบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการ
ดีขึ้นอยู่ในระดับปกติ (ผลต่างของคะแนนมาตรฐานทีเป็นบวกไม่เกินหนึ่งเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพบว่ามีโรงเรียนส่วนน้อยเท่านั้นที่มีพัฒนาการในระดับดีมาก (ผลต่างของคะแนนมาตรฐานทีเป็นบวกมากกว่าหนึ่งเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และมีโรงเรียนบางส่วนที่ต้องได้รับการปรับปรุง (ผลต่างของคะแนนมาตรฐานทีเป็นลบมากกว่าหนึ่งเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
under process
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ฉัตรแก้ว ใจงาม, จิตชิน จิตติสุขพงษ์, สุดารัตน์ เจตน์ปัญจภัค และ กนกวรรณ กุลสุทธิ์. (2563). การพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อยกระดับผล การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O -NET) รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8(5), 1777-1789.
เฉลิมพล สายหอม. (2561). การจัดการเรียนการสอนทางไกลที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ เพื่อการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชนิดา ยอดสาลี และ กาญจนา บุญส่ง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. Veridian E-Journal. 9(1), 1208-1223.
ญาณิกา ลุนราศรี และ จันทร์ทรงกลด คชเสนี. (2557). ผลกระทบของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษตามการรับรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED). 9(1), 623-640.
ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ และ อุษณี ลลิตผสาน. (2563). แนวทางการดำเนินงานยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร: การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 33(2), 125-146.
ธัญญา เรืองแก้ว. (2550). การทดสอบทางการศึกษา (O-NET) สำคัญอย่างไร. วารสารวิชาการ. 10 (4), 78-79.
ปนัดดา หัสปราบ. (2557). แนวทางการนำผลการทดสอบทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
ผาณิตดา วงศ์ขจร, สุชาติ ลี้ตระกูล และ กิตติศักดิ์ นิวรัตน์. (2561). ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ. 2(ฉบับพิเศษ), 339-354.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.
ภาคิญ ไชยวงค์, ระพินทร์ โพธิ์ศรี, อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ และ วจี ปัญญาใส. (2560). ผลกระทบของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียน. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. 7(2), 79-96.
ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร และ สุรพล พุฒคำ. (2563). การบริหารงานวิชาการที่มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี เขต 18. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(1), 39-50.
รมยกรณ์ เฉลิมศรีเมือง, อโนทัย ประสาน และ สุภาพ เต็มรัตน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3. Journal of Graduate School. 16(75), 72-79.
ลลิตา ธงภักดี และชยพล ธงภักดี. (2560). การจัดการข้อมูลการวัดและประเมินผลการทดสอบ O-NET ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4. วารสารราชพฤกษ์. 15(1), 42-48.
วิทัศน์ ฝักเจริญผล, กุลธิดา นุกูลธรรม, ทัศตริน วรรณเกตุศิริ และ นันทรัตน์ เครืออินทร์. (2561). แนวทางการสะท้อนคุณภาพของโรงเรียนด้านการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากผลการสอบ O-NET: กรณีการวิเคราะห์ปัจจัยด้านผลการเรียนแรกเข้าของนักเรียนและขนาดโรงเรียน. Kasetsart Journal of Social Sciences. 39, 780-788.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET : Ordinary National Educational Test) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). รายงานแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : บริษัท 21เซ็นจูรี่จำกัด.
สุรชัย ไวยวรรณจิตร. (2552). การศึกษาสาเหตุที่ทำให้คะแนน O-NET ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ: กรณีศึกษาโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สุรเดช จิรัฐิติวิชาไชย, ไพรภ รัตนชูวงศ์ และ ประเวศ เวชชะ. (2559). การบริหารจัดการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่แอบวิทยาคม. วารสารครุศาสตร์วิชาการ. 1(2), 55-65.
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2556). การวิเคราะห์และสังเคราะห์กลยุทธ์การนําผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน: พหุกรณีศึกษาโรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาในระดับดี. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).