แนวทางพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ

Main Article Content

ปนัดดา หัสปราบ
นันทนา จันทรฝั้น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติและความสำเร็จของการนําผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) เพื่อศึกษาปัจจัย
ที่ส่งผลต่อการนําผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา และ 3) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการนําผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และครู จํานวน 300 โรงเรียน ส่วนการสังเคราะห์แนวทางการนําผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติ ผู้วิจัยกำหนดผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้


  1. การศึกษาระดับการปฏิบัติและความสำเร็จของการนําผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า 1) สถานศึกษามีการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในการประเมินระดับชั้นเรียนและการประเมินระดับชาติ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการนำผลการทดสอบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพระดับชั้นเรียนมีการปฏิบัติมากที่สุด 2) ความสำเร็จของการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยรวมอยูในระดับปานกลาง

  2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนําผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านผู้บริหารส่งผลต่อการนําผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา มากที่สุด
    โดยสามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามวิธี Stepwise ได้ดังต่อไปนี้
    สมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบ (Unstandardized Score) = .661 + .358 (x2) + .217 (x4) + .244 (x1)     

          สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score)   = .393 (x2) + .263 (x4) + .257 (x1)


  1. แนวทางการนําผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า ผู้บริหาร ครู โรงเรียน นโยบายการศึกษา และการนิเทศ กำกับ ติดตาม จากหน่วยงานต้นสังกัดจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนขับเคลื่อนการนำผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดุษฎี โยเหลา. (2562). รายงานการประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2560 (ฉบับสมบูรณ์). สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). https://www.niets.or.th/th/content/ download/15721.

ทศพร จันทราช. (2554). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที4สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริหารงานของ

ผู้บริหารโรงเรียนที4มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ. (2563). การใช้ประโยชน์จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48(1), 63-82.

ปนัดดา หัสปราบ. (2561).การวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

ปีการศึกษา 2560. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2557). การพัฒนาหลักสูตร : ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

ฤทธิรงค์ เศษวงศ์. (2556). อิทธิพลของภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความ

มีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.

วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. (2552). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพัฒนาพื้นที่ ชายฝั่งทะเลตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์. (2557). การนําผลการทดสอบทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่การพัฒนาคุณภาพ การเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน. http://www.niets.or.th/cm/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561 (Education in Thailand 2018). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:

บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2554). การนิเทศภายในหัวใจการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน. วารสารวิชาการ. 5(8), 26-27.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2556). การวิเคราะห์และสังเคราะห์กลยุทธ์การนําผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน: พหุกรณีศึกษาโรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาในระดับดี. http://www.niets.or.th/index.php/research_th/view/15

เอื้อมพร หลินเจริญ, สิริศักดิ์ อาจวิชัย, และ ภีรภา จันทรอินทร. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. ทุนอุดหนุนการวิจัยจาก สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). 2552.

อุมาพร สันตจิตร. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับประถมวัย ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

Murphy J. (1990). Education: A decade of reform. Thousand Oaks, CA: Sage.

Schreiber, J. S. (2002). Institutional and student factors and their influence on advanced

mathematics achievement. Journal of Educational Research, 95(5), 274-286.