ผลการให้การปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎียึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางควบคู่กับการฟังบทสวดมนต์ที่มีต่อการลดความเครียดในผู้ป่วยสูงอายุหญิงกระดูกหักที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกหญิง โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

Main Article Content

ธันยมน อินทร์ทองน้อย
นิธิพัฒน์ เมฆขจร
สุขอรุณ วงษ์ทิม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดของผู้ป่วยสูงอายุหญิงกระดูกหักก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎียึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางควบคู่กับการฟังบทสวดมนต์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดของผู้ป่วยสูงอายุหญิงกระดูกหักกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎียึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางควบคู่กับการฟังบทสวดมนต์กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับข้อมูลภาวะสุขภาพตามปกติระเบียบวิธีวิจัยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) ภายหลังการใช้โปรแกรมการได้รับการปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎียึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางควบคู่กับการฟังบทสวดมนต์ ผู้ป่วยสูงอายุหญิงกระดูกหักที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกหญิงโรงพยาบาลพระนั่งเกล้ากลุ่มทดลอง มีระดับความเครียดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) ภายหลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มทดลองและผู้ป่วยกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยความเครียดแตกต่างกัน โดยผู้ป่วยกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้คำปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎียึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางควบคู่กับการฟังบทสวดมนต์ มีระดับความเครียดลดลงต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับข้อมูลภาวะสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร จิวประสาท. “การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก: ประเด็นท้าทายทางการพยาบาล”. วชิรสารการพยาบาล, ๒๑(๑) ๒๐๑๙: ๕๑-๖๖.

กัญนิกา อยู่สำราญ และคณะ. “ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา”. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. ๑๖(๑) ๒๐๒๑:๑-๑๖.

กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊. “ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนาและการทำสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖.

เจียรนัย ทรงชัยกุล และโกศล มีคุณ. ประมวลสาระชุดวิชาแนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา (หน่วยที่ ๕, น. ๙-๑๐). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๔.

ฐิชารัศม์ พยอมยงค์, “ผลของการให้การปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางตามแนวคิดของโรเจอรส์ที่มีต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง และความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กด้อยโอกาส”, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการปรึกษา), (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๔).

พระครูสมุห์วรวิทย์ ผาสุโก, ดร. และคณะ. “กายภาพบำบัดเชิงพุทธ: รูปแบบและวิธีการบำบัดด้วยธรรมโอสถ”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.

นัยนา ธัญธาดาพันธ์. “ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลต่อความรู้ความสามารถในการดูแลและการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุที่ผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลสตูล”. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. ๑๓(๒), ๒๐๒๐: ๒๓๑-๒๓๙.

เบญจมาภรณ์ ลิขิตกิจไพศาล. “ผลของการให้การปรึกษากลุ่มที่มีต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันโรงพยาบาลรามาธิบดี”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๔.

พรทิพย์ คคนานต์ดำรง และคณะ. “ผลของการสวดมนต์แบบออกเสียงต่อความเครียดและอัตราการหายใจของนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ๒๙(๕) ๒๕๖๓: ๘๒๒–๘๒๙.

แม่ชีกนกวรรณ ปรีดิ์เปรม, สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, และ เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ. “ผลของการสวดมนต์และการฟังบทสวดมนต์ที่มีต่อความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่มีความศรัทธาในพุทธศาสนา”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ๘(๒) ๒๕๖๓: ๗๓๘-๗๔๘.

สาธิมาน มากชูชิต. “ผลของโปรแกรมการสนับสนุนด้านอารมณ์ร่วมกับการหายใจแบบผ่อนคลายต่อความเครียดและการเผชิญความเครียดในผู้บาดเจ็บที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ”. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ๒๕๕๖.

สุดสบาย จุลกทัพพะ. ความเครียด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.si.mahidol.ac.Th /th/healthdetail.asp?aid=๕๐ [๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖].

สุภลัคน์ ดรุนัยธร. “ผลของการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลที่มีต่อความวิตกกังวลของมารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยในหออภิบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๔.

เสาวณี เตชะพัฒนาวงษ์. “ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ”. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๓.

อภิชาติ กาศโอสถ. “การดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักหลังจากได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายใน”. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๒): ๑๘๓-๑๙๒.

อารี เงารังษี, สุขอรุณ วงษ์ทิม และนิธิพัฒน์ เมฆขจร. “ผลของการให้การปรึกษาแบบรายบุคคลเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าในโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ จังหวัดสงขลา”. วารสารพยาบาลทหารบก. ๒๐(๒) ๒๕๖๒: ๒๓๔-๒๔๐.

อุไรวรรณ พลจร. “ผลของการสวดมนต์แบบพุทธต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่ได้รับเคมีบำบัด”. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ๒๕๕๘.

Lazarus, R. S., & folkman, S. Stress Appraisal and Coping. New York: Springer Publishing Company, 1984.

Rogers, C.R. Psychotherapy and Personality Change, Chicago: University Press, 1967.