การเปิดรับข่าวสาร ความพึงพอใจ และทัศนคติ ของผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลเมืองพัทยา ในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

Saovanee Boonsomthop

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการเปิดรับข่าวสาร ความพึงพอใจ และทัศนคติ ของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเมืองพัทยา ในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์คือ ๑.เพื่อศึกษาถึงลักษณะทางประชากร ลักษณะการใช้บริการ การเปิดรับข่าวสาร ความพึงพอใจและทัศนคติที่มีต่อโรงพยาบาลเมืองพัทยา ๒.เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับ ลักษณะการใช้บริการโรงพยาบาลเมืองพัทยา ๓.เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับข่าวสารของโรงพยาบาลเมืองพัทยา ๔. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะการใช้บริการกับความพึงพอใจที่มีต่อโรงพยาบาลเมืองพัทยา ๕.เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับทัศนคติที่มีต่อโรงพยาบาลเมืองพัทยา เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการได้รับบริการที่มีคุณภาพ มีจริยธรรม มีคุณค่า โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๐๐ ชุด วิธีการดำเนินวิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคำนวณหาค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Chi-Square ,one-way ANOVA, และPearson’s product correlation coefficient เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง ๒๕-๓๕ ปี อาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท มีรายได้ ๑๐,๐๐๑-๑๕,๐๐๐ บาท เข้าใช้บริการโรงพยาบาลเมืองพัทยามากกว่า ๓ ครั้งขึ้นไป เข้าใช้บริการแผนกตรวจโรคทั่วไปมากที่สุด ใช้สิทธิรักษาพยาบาลด้วยสิทธิประกันสังคม มีการเปิดรับ/พบเห็นข่าวสารจากสื่อบุคคล อาทิ เพื่อนบ้าน/พนักงานของโรงพยาบาลมากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อโรงพยาบาลเมืองพัทยาโดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๓.๔๐ อยู่ในระดับปานกลาง คือด้านสถานที่ ค่าเฉลี่ย ๓.๕๔ ทัศนคติที่มีต่อโรงพยาบาลเมืองพัทยาโดยรวม ค่าเฉลี่ย ๓.๓๔ อยู่ในระดับปานกลาง คือด้านบุคคลากร ค่าเฉลี่ย ๓.๔๕

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ความเป็นมาเกี่ยวกับโรงพยาบาลเมืองพัทยา. ออนไลน์. แหล่งที่มา http://pattayacityhospital.go.th/th/aboutus สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562

โครงการส่งเสริมคุณธรรม-จริยธรรม โรงพยาบาลขอนแก่น.ออนไลน์. แหล่งที่มา

https://www.kkh.go.th/wp-content/uploads/2020/02/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1.pdf สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564

คุณธรรม จริยธรรมในการทำงาน. ออนไลน์. แหล่งที่มา https://www.banlamnow.go.th/news/doc_download/a_120618_133944.pdf สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565

ชวนะ ภวกานันท์. (2527). ภาพพจน์เชิงลบกับการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ธรรมศาสตร์.

ดวงฤทัย พงศ์ไพฑูรย์. (2544). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับเพศศึกษาของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม; 2552

มงคล 38 ประการ รู้จักหลักธรรมแห่งความสุข สู่ความเจริญในชีวิต. ออนไลน์. แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/horoscope/belief/2079263 สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, และศุภร เสรีรัตน์. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารเพื่อการจัดการในองค์การธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุดวิกฤติ โรงพยาบาลรัฐแออัด โรงพยาบาลเอกชนแสนแพง แพทย์ทางเลือกไร้งานวิจัย. ออนไลน์. แหล่งที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9610000031862

สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565

อาการผิดปกติใดบ้าง ที่บ่งบอกว่าคุณป่วยแล้ว. ออนไลน์. แหล่งที่มา https://www.chularat3.com/knowledge_detail.php?lang=th&id=528

สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565

เรื่องควรรู้สิทธิหลักประกันสุภาพ. ออนไลน์. แหล่งที่มา http://medinfo2.psu.ac.th/social/doc/2014-04-08-18-04-51.pdf

สืบค้นเมื่อ15 กุมภาพันธ์ 2565

Rogers, E. M. & Shoemaker, F. F. (1971). Communication of Innovations: A Cross Cultural Approach. New York: The Free Press.