จุดอ่อนและความย้อนแย้งของทฤษฎีมนุษยนิยมแบบฆราวาส
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง จุดอ่อนและความย้อนแย้งของทฤษฎีมนุษยนิยมแบบฆราวาส มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาแนวคิดของปรัชญามนุษยนิยมแบบฆราวาส ๒) ศึกษาจุดอ่อนของปรัชญามนุษยนิยมแบบฆราวาส และ ๓) ศึกษาความย้อนแย้งของปรัชญามนุษยนิยมแบบฆราวาส
ระเบียบวิธีวิจัยของงานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ ใช้การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และ นำมาวิเคราะห์เรียบเรียงเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
๑. จุดอ่อนของมนุษยนิยมแบบฆราวาส คือ ความยืดหยุ่นเกินไปของทฤษฎี ที่พยายามจะโอบอุ้มทุกแนวคิดภายใต้กรอบแห่งสิทธิเสรีภาพ และการอ้างอิงวิทยาศาสตร์มากเกินไป เมื่อต้องอธิบายแนวคิดที่เป็นนามธรรมจึงนำไปสู่ความบกพร่องด้านตรรกะ
๒. ความย้อนแย้งของทฤษฎีมนุษยนิยมแบบฆราวาสเห็นได้ชัดจากแนวคิดปฏิเสธศาสนา แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามีการยอมรับศาสนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแบบฆราวาสด้วย เนื่องจากติดกรอบแนวคิดด้านสิทธิเสรีภาพของตัวทฤษฎีเอง
๓. ทฤษฎีมนุษยนิยมแบบฆราวาส สามารถเป็นศาสนาใหม่ได้หรือไม่? คำตอบคือ อาจเป็นได้ และเป็นไม่ได้ ขึ้นอยู่กับมิติในการพิจารณา การนำเสนอกรอบทางจริยธรรมชุดใหม่ในการดำเนินชีวิต และมีองค์ประกอบเทียบเท่าศาสนา อาจนับได้ว่าเป็นศาสนาของคนรุ่นใหม่ แต่ในอีกมุมหนึ่งที่ทำให้เป็นศาสนาไม่ได้ เพราะมนุษยนิยมแบบฆราวาสอาจไม่สามารถยึดพื้นที่ในจิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่มีต่อศาสนาและความเชื่อดั้งเดิมได้อย่างสมบูรณ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
ภาษาไทย
หนังสือ
สิทธิ์ บุตรอินทร์. ปรัชญาเปรียบเทียบมนุษยนิยมตะวันออกกับตะวันตก. กรุงเทพมหานคร : สร้างสรรค์บุ๊คส์, ๒๕๓๒.
ภาษาอังกฤษ
หนังสือ
Harvey, Graham. Animism: Respecting the Living World. London : Hurst & Co, 2005.
Law, Stephen. Humanism: A Very Short Introduction. Oxford : Oxford University Press, 2011.
Walter, Nicolas. Humanism: what's in the word? London : RPA/BHA/Secular Society Ltd., 1997.
บทความในวารสาร
Bowpitt, G. “Evangelical Christianity, Secular Humanism, and the Genesis of British Social Work.” The British Journal of Social Work, 28 (5), (1998), p. 675-693.
Kristeller, P. “Florentine Platonism and Its Relations with Humanism and Scholasticism”. Church History, 8(3), (1993), p.201-211.
Schiller, F.“The Humanism of Protagoras”. Mind, 20 (78), (1911), p.181-196.
สื่ออิเลคทรอนิกส์
AHA. Humanist Manifesto [online]. Retrieved from : American Humanist
Association: https://americanhumanist.org/what-is-humanism/manifesto3/.
January 21, 2022.
Cadwaladr, E.M. The Fatal Weaknesses of Humanism. Retrieved from AmericanThinker https://www.americanthinker.com/articles/2018/04/the_fatal_
weaknesses_of_humanism.html. December 30, 2021.
Cline, Austin. History of Humanism with Ancient Greek Philosophers, (2019). Retrieved from https://www.learnreligions.com/humanism-in-ancient-greece-24810. April 28, 2021.
Sharlow, M. F. Mark F. Sharlow on Philosophy, Science and Culture, (2007), Retrieved from Brain Time and Cosmos: https://www.eskimo.com/~msharlow/ skepticism/documents /secular_humanism.pdf. October 22, 2021.