การศึกษาวิเคราะห์จริยศาสตร์ ที่ปรากฏในมหาภารตะ

Main Article Content

พระมหาอภิชัย สัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์จริยศาสตร์ ที่ปรากฏในมหาภารตะ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1.เพื่อศึกษาองค์ความรู้ของพรามณ์-ฮินดู ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางจริยศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางจริยศาสตร์ในมหาภารตะตามหลักจริยศาสตร์ของพราหมณ์ -ฮินดูและพุทธศาสนา ผลวิจัยพบว่า คำสอนทางจริยธรรม มีคุณค่าแก่มวลมนุษย์ในแง่ที่ว่าสามารถใช้เป็นหลักในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนทั้งหลายในสังคม ซึ่งกำหนดหน้าที่ของวรรณะ 4 ไว้ในคัมภีร์ Manudharmasastra อย่างชัดเจน ซึ่งคนทุกคนที่เกิดมาสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะทางสังคมอย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูถือว่า บุคคลใดก็ตาม ได้กระทำสิ่งต่างๆ โดยถือว่าเป็นหน้าที่ของตนตามวรรณะ มีเจตนามุ่งรักษาความถูกต้อง ผดุงความยุติธรรมไว้ และทำด้วยความจงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า หากว่าบุคคลนั้น ได้ทำการฆาตกรรมใครก็แล้วแต่ ก็ถือว่าไม่เป็นบาปแก่ผู้ทำ ดังทัศนะที่ว่า กฎแห่งกรรมเป็นกฎที่ถูกกำหนดขึ้นโดยพระผู้เป็นเจ้า พระองค์มีอำนาจเหนือกฎแห่งกรรม ซึ่งมีผลต่อมนุษย์ทุกคนและทรงเป็นผู้ควบคุมกฎนี้ให้ส่งผลต่อมวลมนุษย์ตามความประสงค์ของพระองค์ ส่วนพุทธจริยศาสตร์ มีทรรศนะว่า มวลมนุษย์อยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นกฏที่มีอยู่อย่างอิสระ เหนือการควบคุมของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ดี ทำกรรมชั่วย่อมได้ชั่ว มุ่งเจตนาหรือความตั้งใจของผู้กระทำเป็นสำคัญ ถือว่าเป็นมูลเหตุของกรรม ซึ่งเป็นตัวนำไปสู่การริเริ่มปรุงแต่งให้ทำสิ่งต่างๆในชีวิตได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑, พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ:หน่วยพิมพ์และจำหน่ายศาสนภัณฑ์ โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๑๔.
กรุณา-เรืองอไร กุศลาสัย. มหาภารตยุทธ พิมพ์ครั้งที่ ๒, คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา, ๒๕๓๓.
กรุณา - เรืองอุไร กุศลาสัย. อินเดีย อนุทวีปที่น่าทึ่ง พิมพ์ครั้งที่ ๔ .สำนักพิมพ์ศยาม: กรุงเทพมหานคร, ๒๕๔๔.
ประเวศ อินทองปาน. "สถานภาพและบทบาทของสตรีเพศตามแนวจริยศาสตร์ทางศาสนา." วารสารธรรมธารา : พระนครศรีอยุธยา, ๒๕๖๑.
วิทย์ วิศทเวทย์. จริยศาสตร์เบื้องต้น มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ ๘). กรุงเทพมหานคร: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ จำกัด, ๒๕๓๕.
ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. มหาภารตะ : ความสัมพันธ์ที่มีต่อวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ ๒. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและชมรมบาลีสันสกฤต,กรุงเทพมหานคร, ๒๕๔๓.
นาวิน เวชธรรม. "การละเมิด: ความสำคัญต่อการเล่าเรื่องในมหาภารตะ." วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๕.
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู, องค์การ. ประวัติศาสตร์และหลักธรรมของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๒๕.
องฺคุตฺตรนิกาย (บาลี) ฉกฺก.องฺ .๒๒/๔๖๔/๓๓๔.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร), ความเข้าใจเรื่องกรรม, กรุงเทพ ฯ วัดบวรนิเวสวิหาร, ๒๕๕๖.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. จริยศาสตร์. (กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๒๐.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. การปรับพฤติกรรม. (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๖.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. จริยธรรมกับการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๐.
สมภาร พรมทา. พุทธปรัชญา : มนุษย์ สังคมและปัญหาจริยธรรม. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒.
ภาษาอังกฤษ
Herman, L.A. "A Brief Introduction to Hinduism: Religion, Philosophy, and Ways of Liberation." Philosophy East and West, 1993.
John Stuart Mill, Utilitarianism, 7th ed. London: Longmans, Green, And Co. 1879, 2004.
Sarte, Jean-Paul. Existentialism and Humanism. Paris, 1970.
Sen, Amartya. Ramayana: Book 1: Boyhood. Vol. 1: NYU Press, 2005.
The Rig Veda. Delhi: Penguin Books India. 1994