พระสงฆ์จิตอาสา: สวนทางหรือว่าตามพระธรรมวินัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระสงฆ์จิตอาสา เป็นภาพที่ประชาชนมักพบเห็นในช่วงเวลาและสถานการณ์ต่างๆ อาทิ ในภาวะอุทกภัย วาตภัย ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ปัญหาการดำรงชีพ หรือแม้กระทั่งวิกฤตจากไวรัสโควิด-๑๙ เป็นต้น รูปแบบการช่วยเหลือ เช่น การมอบวัตถุสิ่งของเพื่อเป็นเครื่องยังชีพ และรูปแบบการช่วยเหลือโดยการเป็นผู้นำในการทำโครงการต่างๆ เพื่อรับมือหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชน กิจดังกล่าว พุทธศาสนิกชนบางส่วนเห็นว่าเป็นกิจที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นบรรพชิต และสวนทางกับพระธรรมวินัย แต่สำหรับพระสงฆ์จิตอาสาเอง ได้ยืนยันว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปตามพระธรรมวินัยแน่นอน เมื่อทบทวนจากหลักการและข้อเท็จจริงแล้วสิ่งที่พระสงฆ์ทำอยู่นั้นไม่ได้ขัดหรือแย้งกับหลักการใหญ่ แต่วิธีปฏิบัติอาจเสียความประพฤติอยู่บ้าง ซึ่งไม่ถึงกับทำให้ขาดจากความเป็นสงฆ์ ดังนั้น หากพระสงฆ์จิตอาสาจะทำหน้าที่อย่างอิสระและปราศจากข้อกังขา ต้องทำงานบนฐานข้อเท็จจริงและหลักการ คือ ๑) การไม่เหินห่างจากไตรสิกขา ๒) การศึกษากฎกติกาของชาวโลกเพื่อหลีกเลี่ยงข้อโต้แย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้
Article Details
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
พินิจ ลาภธนานนท์ และคณะ, แนวคิดพุทธศาสนาเพื่อสังคม สังคหธุระและสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธ, นนทบุรี, นิติธรรมการพิมพ์, หน้า ๗๐-๗๑.
โพสต์ทูเดย์, “โรงเรียนศรีแสงธรรม” จากห้องเรียนบ้านดินสู่ต้นแบบพลังงานทดแทน”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.posttoday.com/social/local/๔๒๐๐๗๙,[๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๔].
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒, กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พลับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖, หน้า ๑๑๑๓.
วิชัย วงศ์ใหญ่, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.curriculumandlearning.com/upload/บทความ%๒๐%๒๐จิตอาสา_๑๔๑๕๘๖๓๔๘๐.pdf, [๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔.].
สงกรานต์ ก่อธรรมนิเวศน์, ศัพท์ทางจิตเวช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒,หน้า ๗๑.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต), ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม, ภาค ๑-๓, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๙, หน้า ๔-๙.
สยามรัฐ, “มจธ.”ร่วมผลักดัน “ธนาคารน้ำใต้ดิน” ช่วยคนไทยสู้ภัยแล้ง-น้ำท่วมยั่งยืน”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา:. https://siamrath.co.th/n/๑๕๗๘๖๕, [๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๔].
สายจิตร สิงหเสนี, สังคมสงเคราะห์จุลภาค, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ๒๕๔๑,หน้า ๑๖๐-๑๖๑.
อภิชัย พันธเสน, เศรษฐกิจพอเพียงในฐานะรูปแบบที่พึงปรารถนาของระบบสวัสดิการสังคมไทย, ใน คณะกรรมการสหสาขาวิชาการระหว่างสถาบันแห่งชาติฯ และคณะ, (บ.ก.), การเสวนาสหสาขาวิชาการระหว่างสถาบันแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๔๔: เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม เล่ม ๒. (น.๑-๑๘). กรุงเทพฯ : ม.ป.ท., ๒๕๔๔, หน้า ๓.
Easy News. “แลกคนละหมัด “พศรีฯVS พระพยอม” ถามเดือดวัดหรือโรงงาน”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.easynewsonline.com/๑๓๓๐๒, [๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๔].