ขณะจิตสุดท้าย: ความจริงที่ชาวพุทธควรรู้

Main Article Content

เเม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
อรชร ไกรจักร์
พระมหาวรัญธรณ์ ญาณกิตฺติ

บทคัดย่อ

บทความนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของจิตสุดท้ายก่อนตาย เพราะมนุษย์เมื่อเกิดมาบนโลกใบนี้จะต้องตายในวันใดหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เมื่อเป็นเช่นนี้ การทำจิตสุดท้ายก่อนตายให้ผ่องใสในขณะที่จะตายจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ จิตสุดท้ายก่อนตายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเพราะเป็นจุดเปลี่ยนผ่านจากภพปัจจุบันไปยังภพหน้า จิตสุดท้ายก่อนตายจะผ่องใสหรือเศร้าหมองขึ้นอยู่กับกรรม ๔ อย่าง คือ (๑) ครุกรรม คือ กรรมหนักที่เป็นฝ่ายกุศลและอกุศล (๒) อาสันนกรรม คือ กรรมที่ทำในเวลาใกล้ตายและกรรมที่ระลึกถึงในเวลาใกล้ตายที่เป็นฝ่ายกุศลและอกุศล          (๓) อาจิณณกรรม คือ กรรมที่ทำจนเป็นปรกตินิสัยที่เป็นฝ่ายกุศลและอกุศล (๔) กตัตตากรรม คือ กรรมที่สักว่ากระทำเป็นกรรมที่ทำด้วยความไม่ตั้งใจมีเจตนาอ่อนๆ กรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ถ้าเป็นกรรมฝ่ายกุศล ก็จะเป็นตัวกำหนดจิตสุดท้ายก่อนตายให้ผ่องใสแล้วนำไปเกิดในสุคติ ถ้าเป็นกรรมฝ่ายอกุศลก็จะตัวเป็นกำหนดจิตสุดท้ายก่อนตายให้เศร้าหมองแล้วนำไปเกิดในทุคติ เมื่อจิตสุดท้ายก่อนตายจะผ่องใสหรือเศร้าหมองขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำไว้ ชาวพุทธจึงควรใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทด้วยการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และละเว้นความชั่วทางกายวาจาใจ เมื่อถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต จิตสุดท้ายก่อนตายย่อมจะผ่องใสแล้วนำไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อย่างแน่นอน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ข้อมูลปฐมภูมิ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
ข้อมูลทุติยภูมิ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ภาค
๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.
________อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ภาค ๒กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.
________อภิธมฺมตตฺถสงฺคโห จ ตโยอภิธมฺมตฺถสงฺคหฏีกา เจว. กรุงเทพมหานคร; โรงพิมพ์
วิญญาณ, ๒๕๔๒.
________วิสุทฺธิมคฺคมหาฎีกา ปโม ภาโค กรุงเทพมหานคร; โรงพิมพ์วิญญาณ. ๒๕๓๘.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
________มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
พระพุทธโฆสเถระ รจนา. แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร).
คัมภีร์วิสุทธิมรรค. พิมพ์ครั้งที่ ๖.
สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ ๕ เล่มที่ ๒.
กรุงเทพมหานคร; หจก. ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๖๔.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.
พิมพ์ครั้งที่ ๓๔. กรุงเทพมหานคร; โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา. ๒๕๕๙.