กระบวนการเสริมสร้างจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคม ของเยาวชนนานาชาติ

Main Article Content

อรศิริ ไม้ทอง

บทคัดย่อ

 บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนนานาชาติ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) ควบคู่กับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) แบบคู่ขนาน (Parallel) ภายใต้ระเบียบวิธีวิจัยภาคสนามแบบกรณีศึกษา (Case Studies) และการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) กลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนนานาชาติจาก ๖ ประเทศ ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion Criteria) จำนวน ๓๐ ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แนวทางการสัมภาษณ์ (Interview Guideline) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ชุดกิจกรรม The Hybrid Digital Module [HDM] และ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า กระบวนเสริมสร้างจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนนานาชาติเป็นกระบวนการที่สามารถดำเนินการได้ในรูปแบบ Leist Model คือ แบบจำลองของแนวคิดและกระบวนการที่เชื่อมโยงเข้าหากันด้วยการบูรณาการแบบองค์รวมจาก ๔ ประเด็น คือ การเรียนรู้ (Learning) การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) การสร้างเครือข่ายทางสังคม (Social Network) นำสู่การเปลี่ยนแปลง (Transformation) ซึ่งเยาวชนแสดงออกด้วยการลงมือปฏิบัติโครงการในพื้นที่ท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่จำนวน ๙ โครงการ


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย