คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ ๓: การแปลและการศึกษาวิเคราะห์

Main Article Content

พระมหาชิด ศรีวิริยกุลชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ ๓: การแปลและศึกษาวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติและโครงสร้างของคัมภีร์          สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ ๓ และความสัมพันธ์กับคัมภีร์อื่นๆ ๒) เพื่อแปลคัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ ๓ เป็นภาษาไทย ๓) เพื่อวิเคราะห์การอธิบายหลักธรรมและคุณค่าของคัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ ๓ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นผลงานแปลที่ผู้วิจัยแปลจากคัมภีร์ภาษาบาลีอักษรไทย ให้เป็นภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ ๓ เป็นคัมภีร์ในสุตตันตฎีกา  มีโครงสร้างการจัดลำดับพระสูตรเป็นหมวดหมู่ตามจำนวนหัวข้อธรรมเป็นสำคัญ มีเนื้อหาที่จัดเป็นหมวดว่าด้วยนิบาตทั้งหมด ๗ นิบาต คือ ปัญจกนิบาต ฉักกนิบาต สัตตกนิบาต อัฏฐกนิบาต นวกนิบาต ทสกนิบาต และเอกาทสกนิบาต รวม ๑๕ ปัณณาสก์ ๖๘ วรรค ๒๘๘ สูตร มีรูปแบบการแต่งคัมภีร์เป็นแบบร้อยกรองผสมร้อยแก้ว มีความสัมพันธ์กับพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ โดยผู้รจนาได้ยกหลักฐานจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ ดังกล่าวมาสนับสนุนแนวการอธิบายความหมายของศัพท์ต่าง ๆ มีคุณค่าในด้านวิธีการแต่ง การเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน ลีลา ประโยค และความเรียงต่างๆ เป็นระบบแบบตันติภาษา ที่จรรโลงไว้ซึ่งพระสัทธรรมอันบริบูรณ์ไปด้วยสาระแห่งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อย่างครบถ้วน นับเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าทางพุทธศาสนาอย่างยิ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พระมหาชิด ศรีวิริยกุลชัย, วัดนิคมผัง 16

ปริญญาเอก แบบ ๑.๒  สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มจร. (รหัสปีการศึกษา ๒๕๕๗)

References

ภาษาไทย

จำรูญ ธรรมดา. เนตติฏิปปนี ศึกษาเชิงวิเคราะห์พระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๖.
________________. เนตติฎิปปนี. กรุงเทพมหานคร : ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๖.
________________. กระบวนการตีความพระพุทธพจน์ตามแนวของคัมภีร์เนตติ. กรุงเทพมหานคร : หจก.ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์, ๒๕๕๕.
พร รัตนสุวรรณ และคณะ (ปริวรรต). องฺคุตฺตรฏีกา (ตติโย ภาโค). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๗.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙, ราชบัณฑิต). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง, ๒๕๕๐.
พระธัมมานันทะ. เนตติหารัตถทีปนี อุปจารและนยะ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๓.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๖. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเอส อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์จำกัด, ๒๕๕๑.
_________. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๕๐, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๘.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ, ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
________. พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
________. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๒.
________. มโนรถปูรณี องคุตตรนิกาย อรรถกถา ปญฺจก-ฉกฺกนิปาตวณฺณนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓.
________. มโนรถปูรณี องฺคุตตรนิกายอฏฺฐฃกถา สตฺตก-อฏฺฐฃก-นวกนิปาตวณฺณนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๓.
________. มโนรถปูรณี องฺคุตตรนิกายอฏฺฐฃกถา ทสก-เอกาทสกนิปาตวณฺณนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๓.
________. มโนรถปูรณี อังคุตตรนิกายอรรถกถา ปัญจก-เอกาทสกนิบาต ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓.
________. สารตฺถมญฺชูสานาม องฺคุตฺตรฏีกา (ตติโย ภาโค). กรุงเทพมหานคร : สำนักค้นคว้าทางวิญญาณ, ๒๕๓๗.
________. ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.