การท่องเที่ยวเชิงศาสนาตามรอยวรรณกรรมพื้นถิ่นและบุญบั้งไฟพญานาค อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย Religious Tourism in the Footsteps of Local Literature and Naga Boon Bang Fai, Rattanawapi District, Nong Khai Province

Main Article Content

จีณัสมา ศรีหิรัญ
คมม์ เพชรอินทร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาและส่งเสริมอัตลักษณ์วรรณกรรมพื้นถิ่นและตำนานบั้งไฟพญานาค อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ๒) เพื่อออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ตามรอยตำนานบั้งไฟพญานาคและวรรณกรรมพื้นถิ่น ของอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ปราชญ์ชุมชน เจ้าหน้าที่ของภาครัฐ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่วิจัยมามากกว่า ๑๐ ปี ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษางานวิจัยเชิงเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ตรวจสอบความถูกต้องของการเก็บข้อมูลแบบสามเส้า  มีการวิเคราะห์เนื้อหา และการบรรยายเชิงพรรณนา การวิจัยพบว่า ๑) วรรณกรรมพื้นถิ่นที่พบในอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ได้แก่ ตำนานท้าวศรีธนมโนห์รา ตำนานสังข์สินไซ ตำนานบั้งไฟพญานาค สำหรับตำนานของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ในอำเภอรัตนวาปี ได้แก่ ตำนานพญานาคเศียรช้างเผือก วัดราชโพนเงิน และตำนานรอยพระพุทธบาท วัดพระบาทนาหงส์  ๒) ค้นพบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงศาสนา ตามรอยตำนานบั้งไฟพญานาคและวรรณกรรมพื้นถิ่น ๒ เส้นทาง คือ เส้นทางล่องเรือไหว้พระ ๙ วัด ริมแม่น้ำโขง และเส้นทางทำบุญออกพรรษาชมบั้งไฟพญานาค


คำสำคัญ : การท่องเที่ยวเชิงศาสนา, อัตลักษณ์ท้องถิ่น, วรรณกรรมพื้นถิ่น, บุญบั้งไฟพญานาค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุณฑลีย์ ไวทยะวณิช. (๒๕๕๔). วัฒนธรรมความเชื่อที่เกื้อหนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

กระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๕๗). แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา. ค้นเมื่อ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓, จากhttp://www.dra.go.th/module/attach_media /sheet6820140512110031.pdf

ชนัญ วงษ์วิภาค. (๒๕๕๒). การท่องเที่ยวทางเลือก : ศาสนาวัฒนธรรม, ท่องเที่ยววัฒนธรรม, เอกสารการเรียนการสอนการจัดการท่องเที่ยววัฒนธรรม, คณะวิทยาการจัดการ และคณะโบราณคดี: มหาวิทยาลัยศิลปากร

เชียรช่วง กัลยาณมิตร และคณะ (๒๕๕๘). รายงานผลการศึกษา เรื่อง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย. ค้นเมื่อ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๓, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER052/GENERAL/DATA0000/00000325.PDF

ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์. (2553). อัตลักษณ์ชุมชน community Identities : อัตลักษณ์ และการพัฒนาเพื่อเคลื่อนไหวเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ของชุมชน. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ทินวงษ์ รักอิสสระกุล และธัญญธร อินทร์ท่าฉาง. (๒๕๕๔). การศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น ประจำภาคเหนือตอนล่างเพื่อออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึก.
งานวิจัยสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ธนกฤต สังข์เฉย. (๒๕๕๐). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.

บุณฑริกา หวังล้อมกลาง. (๒๕๖๒) เส้นทางท่องเที่ยวตามรอยวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน ร้อยเรื่องเมืองยโสธร. มหาสารคาม : คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญเรือง ศรีหาวงศ์. (๒ ตุลาคม ๒๕๖๓). สัมภาษณ์. ปราชญ์ชุมชนผู้เรียบเรียงหนังสือตำนานรอยพระพุทธบาท.บ้านโนนหงส์ทอง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย

ผู้จัดการออนไลน์. (๒๕๕๓). ทัวร์ธรรมะที่พึ่งทางใจยุคคนไทยสุดเครียด. ค้นเมื่อ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓, จาก https://manager.co.th/travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000068090

พยุงศักดิ์ พรมฐาน (๓ สิงหาคม ๒๕๖๓). สัมภาษณ์. ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตำบลโพนแพง. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย

พงษ์ศักดิ์ เมยดง. (๒๒ กันยายน ๒๕๖๓). สัมภาษณ์. นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย

วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน. (๒๕๕๗). ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค : การสร้างนวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย นครหลวงเวียงจันทน์ และแขวงบอลิคำไซ.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal,๗(๒) ค้นเมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๓ จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/16789

วิภารัตน์ ข่วงทิพย์. (๒๕๕๘). วรรณกรรมนาฏยศิลป์พื้นเมือง. ค้นเมื่อ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ จาก,https://fineart.msu.ac.th/e-documents/myfile/0606218-146-%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1.pptx

วิภาวรรณ ปิ่นแก้ว. (๒๕๕๑). แนวทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (๒๕๕๑). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (๒๕๕๙). สถิติผู้นับถือศาสนา. ค้นเมื่อ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ จาก,https://e-service.dra.go.th/buddha.php?p=stat