คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฏีกา ภาคที่ ๑: การแปลและศึกษาวิเคราะห์

Main Article Content

พระเทพกิตติเวที (ฉ่ำ ปุญฺญชโย/ไชยตาล)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฏีกา ภาคที่ ๑ : การแปลและศึกษาวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์คือ (๑) เพื่อแปลคัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฏีกา ภาคที่ ๑ จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย และ (๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฏีกา ภาคที่ ๑ ในด้านโครงสร้าง เนื้อหา รูปแบบและสำนวนภาษา หลักอลังการ และคุณค่าของคัมภีร์ที่มีต่อการธำรงไว้และเผยแผ่พระสัทธรรมของพระพุทธศาสนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร ผลการศึกษาวิจัยพบว่า คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฏีกา ภาคที่ ๑ เป็นคัมภีร์ฎีกาอธิบายเนื้อความคัมภีร์อรรถกถา มโนรถปูรณี อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต จัดเป็นอังคุตตรอภินวฎีกา มีรูปแบบการรจนาแบบสังวรรณนาโดยเรียบเรียงเนื้อหา ๓ แบบคือ (๑) แบบร้อยกรอง (ปัชชะ) (๒) แบบร้อยแก้ว (คัชชะ) (๓) แบบร้อยแก้วผสมร้อยกรอง (วิมิสสะ) ทั้งนี้ ใช้สัททาลังการและอัตถาลังการ อธิบายธรรมะในพระสูตรให้มีความสละสลวยมากขึ้น ทำให้คัมภีร์ฯ มีคุณค่าใน ๓ ประการคือ (๑) เป็นอรรถาธิบายเนื้อหาสาระแห่งพระสูตรให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง (๒) เป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าธรรมะของภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา (๓) ทำหน้าที่เผยแผ่และธำรงไว้ซึ่งพระสัทธรรมในฐานะพระธรรมกถึกผู้กล่าวธรรม สืบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิม หงส์ลดารมย์. ฉันทศาสตร์ เล่ม ๑, ๒ ว่าด้วยฉันท์วรรณพฤติ. รวบรวมโดยนายฉันท์

ขำวิไล. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๗๙.

จำรูญ ธรรมดา. เนตติฎิปปนี. กรุงเทพมหานคร : ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๖.

_________. กระบวนการตีความพระพุทธพจน์ตามแนวของคัมภีร์เนตติ. กรุงเทพมหานคร : หจก.ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์, ๒๕๕๕.

ธงชัย แสงรัตน์,พันเอก. พระไตรปิฎกนิสสยะ เล่ม ๑ ภาค ๑. นครปฐม: บริษัท ซีเอได เซ็นเตอร์ จำกัด, ๒๕๔๘.

พระกัจจายนะ. กัจจายนพยากรณ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิริยพัฒนา, ๒๕๔๐.

พระคันธสาราภิวงศ์. วุตโตทัยมัญชรี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, ๒๕๔๕.

________. สุโพธาลังการมัญชรี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยรายวัน, ๒๕๔๖.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). การเรียนรู้พระพุทธพจน์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง, ๒๕๕๕.

_________. พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง, ๒๕๔๘.

_________. ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง, ๒๕๕๐.

พระธัมมานันทะ. นานาวินิจฉัย. ลำปาง วัดท่ามะโอ : โรงพิมพ์กิจเสรีการพิมพ์, ๒๕๓๓.

พระนันทปัญญาจารย์. จูฬคันถวงศ์ ประวัติย่อคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา. แปลโดย สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.๙. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค จำกัด, ๒๕๔๖.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ธรรมบทวิพากย์. กรุงเทพมหานคร : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์, ๒๕๕๓.

_________. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๖. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเอส อาร์ พริ้นติ้งแมสโปรดักส์จำกัด, ๒๕๕๑.

_________. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๕๐, กรุงเทพมหา นคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๘.

_________. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๔๐. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๗.

พระพุทธัปปิยเถระ. กจฺจายนสุตตํ และ ปทรูปสิทฺธิ. แปลโดย พระมหาสมใจ ปญฺญาทีโป. กรุงเทพมหานคร : หจก.พิทักษ์การพิมพ์, ๒๕๒๘.

_________. ปทรูปสิทฺธิ. กรุงเทพมหาคร : โรงพิมพ์เฉลิมชาญการพิมพ์, ๒๕๒๖.

_________. ปทรูปสิทฺธิฏีกา. ย่างกุ้ง : โรงพิมพ์พุทธศาสนาสมิติ, ๒๕๐๙.

พระมหาสามีสังฆรักขิต. พระคัมภีร์สุโพธาลังการ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. แปลโดย น.อ. แย้ม ประพัฒน์ทอง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ประยูรวงศ์, ๒๕๐๔.

พระราชปริยัติโมลี (อุปสโม). ธาตวัตถสังคหะ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

พระสังฆรักขิตมหาเถร. วุตโตทยมัญชรี การศึกษาเปรียบเทียบฉันทลักษณ์บาลี. แปลและอธิบายโดย พระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, ๒๕๔๕.

พระอัคควังสเถระ. สัททนีติสุตตมาลา คัมภีร์หลักบาลีมหาไวยากรณ์. แปลโดย พระมหานิมิต ธมฺมสาโร ป.ธ.๙ และจำรูญ ธรรมดา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, ๒๕๔๕.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอังคุตตรฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

________. ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.

________. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร :

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

________. มโนรถปูรณี องฺคุตตรนิกายฏฺฐฃกถา เอกกนิปาตวณฺณนา. กรุงเทพมหานคร :

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๓

________. มโนรถปูรณี องคุตตรนิกาย อรรถกถา เอกกนิบาต ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร :

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓

________. ประวัติวรรคดีบาลี. ธนบุรี : โรงพิมพ์ประยูรวงศ์, ๒๕๐๕.

________. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๒.

สมิทธิพล เนตรนิมิต.บาลีศึกษาในอรรถกถาธรรมบท.กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด,๒๕๕๖.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. “มิลินทปัญหาฎีกา : การตรวจชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-

ราชวิทยาลัย. ๒๕๕๖.

พระมหาจรัญ อุตฺตมธมฺโม (บัวชูก้าน). “นมัสการฎีกา: แปลและศึกษาวิเคราะห์”. วิทยานิพนธ์

พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-

ราชวิทยาลัย. ๒๕๕๖.

พระมหาสมลักษณ์ คนฺธสาโร (สาราภิวงศ์). “คัมภีร์สมันตภัททิกา อรรถกถา อนาคตวงศ์ :

การแปลและศึกษาวิเคราะห์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๖.

พระเมธีวรญาณ (สายเพชร วชิรเวที). “การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ปรมัตถมัญชุสาวิสุทธิมรรค-

มหาฎีกา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษอังคุตตรฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.

พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม). “งานวิจัยการศึกษาเชิงวิเคราะห์พระคาถาธรรมบท”. กรุงเทพ-

มหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร. ๒๕๔๕.

ภาษาอังกฤษ

Phra Bramagunabhorn (P.A. Payutto). The Buddhist’s Tenets. Bangkok : Charerndee Mankong Prints, 2010.

R.N. de Fonseka. The Buddha: The Dhamma and The Sangha in Sri Lanka. Tharanfee Prints, 2009.

O. Von Hinuber And R.F Gombrich. Journal of The Pali Text Society. Antony Rowe Ltd., 1997.