คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฏีกา ทุติยภาค : การแปลและการศึกษาวิเคราะห์

Main Article Content

พระสุธีวราลังการ (สมคิด กุนดี)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องคัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฏีกา ทุติยภาค : การแปลและการศึกษาวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและโครงสร้าง ของคัมภีร์สารัตถมัญชูสา
อังคุตตรฎีกา ทุติยภาค เพื่อแปลคัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรนิกาย ทุติยภาคเป็นภาษาไทย เพื่อวิเคราะห์คุณค่าคัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ทุติยภาค ผลการศึกษาวิจัย คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรนิกาย ทุติยภาค เป็นการจัดหมวดหัวข้อธรรม และการแสดงเนื้อความโดยวรรคและสูตร รจนาโดยพระสารีบุตรเถระ ชาวลังกา มีโครงสร้างแบ่งออกเป็น ๓ นิบาตคือ ทุกนิบาต ติกนิบาต และจตุกกนิบาต  มี ๕๒ วรรค มีสูตร ๓๔๙ สูตร การวิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ทุติยภาค แบ่งเป็น  ๑) ด้านการอธิบายหลักธรรม เช่น คำว่า เปสลานํ ภิกฺขูนํ ผาสุวิหาราย เพื่อความผาสุกของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก พระสารีบุตรเถระอธิบายเพิ่มเติมว่า เพื่อความอยู่สำราญของเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงามเป็นต้น ๒) ด้านการสื่อความหมายเชิงอุปมา-อุปมัย ๓) ด้านการศึกษาพระวินัยของพระสงฆ์ และ ๔) ด้านการศึกษาพระสูตรของพระสงฆ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำรูญ ธรรมดา. เนตติฏิปปนี ศึกษาเชิงวิเคราะห์พระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๖.

ชรินทร์ จุลคประดิษฐ์. พันตรี. การแต่งบาลี ๑-๒. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.

พร รัตนสุวรรณ และคณะ (ปริวรรต). สารตฺถทีปนีฏีกา (ปฐโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๘.

__________. องฺคุตฺตรฏีกา (ปฐโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๗.

__________. องฺคุตฺตรฏีกา (ทุติโย ภาโค). (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๗.

พระพุทธโฆสาจารย์ รจนา. อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘.

พระเทพปริยัติโมลี (ทองดี สุรเตโช). หลักการแต่งฉันท์ภาษามคธ ป.ธ. ๘. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง, ๒๕๓๒.

พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและอธิบาย). สุโพธาลังการมัญชรี. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๖.

พระมหาเทียบ สิริญาโณ (มาลัย). การใช้ภาษาบาลี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.

พระมหานิยม อุตฺตโม. หลักสูตรบาลีไวยากรณ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, ๒๕๔๙.

พระมหาอดิศร ถิรสีโล. ประวัติคัมภีร์บาลี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับบาลี มหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

__________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

__________. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ. ๒๕๓๙.

__________. ฎีกาภาษาบาลี.ฉบับมหาจุฬาฏีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.

__________. องฺคุตตรฏีกา ทุติยภาคบาลี. ฉบับมหาจุฬาฏีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ,

๒๕๓๙.

สมิทธิพล เนตรนิมิตร. ผศ.ดร.. บาลีศึกษาในอรรถกถาธรรมบท. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอมี่เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๕๖.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโวรส. บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ ๒ นาม และอัพยยศัพท์ หลักสูตรเปรียญธรรมตรี. พิมพ์ครั้งที่ ๓๖. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโวรส. บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ ๒ อาขยาตและ กิตก์ หลักสูตรเปรียญธรรมตรี. พิมพ์ครั้งที่ ๓๘. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๔๒.

เสนาะ ผดุงฉัตร. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๒.