โมเดลเชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตข้าราชการกรุงเทพมหานครในบริบทพุทธจิตวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องโมเดลเชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตข้าราชการกรุงเทพมหานครในบริบทพุทธจิตวิทยามีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือศึกษาองค์ประกอบและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตข้าราชการกรุงเทพมหานครในบริบทพุทธจิตวิทยามีระเบียบวิธีวิจัยได้แก่การวิจัยแบบผสมวิธี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา นักจิตวิทยา และผู้บริหารองค์กรจำนวน ๑๑ รูป/คน จำนวน ๔๘๐ คนที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามในการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและโปรแกรม LISREL มีผลการศึกษาวิจัยพบว่า ๑) องค์ประกอบของโมเดลประกอบด้วย (๑) ตัวแปรภายนอกแฝง ๓ ตัวแปร คือ ความมั่นใจในความสามารถ ความหวังและความสามารถในการปรับตัว และ การมองโลกในแง่ดีด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสนมสิการ (๒) ตัวแปรส่งผ่าน ๑ ตัวแปร คือ อิทธิบาท ๔ และ (๓) ตัวแปรภายในแฝง ๑ ตัวแปร คือ คุณภาพชีวิต ๒) โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า χ2= ๑๓๙.๙๕ , df = ๑๑๖, p = .๐๖๔, GFI = .๙๗, AGFI = .๙๕, RMR = .๒๕๗ และ RMSEA = .๐๒๑ ๓) หลักธรรมอิทธิบาท ๔ เป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยความหวังและความสามารถในการปรับตัวมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมไปยังคุณภาพชีวิตข้าราชการผ่านอิทธิบาท ๔
Article Details
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป