การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารวัด ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค @

Main Article Content

พระครูวิศิษฏ์สรการ (จักรพันธ์ ขนฺตยาคโม)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 1 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 1 2) ศึกษาประสิทธิผลในการบริหารวัด ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 1 และ 3) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 1 มีระเบียบวิธีวิจัยได้แก่ การวิจัยแบบผสมวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยแบบคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากพระสงฆ์ที่มีตำแหน่งในการปกครองระดับเจ้าคณะอำเภอ จำนวน 20 รูป ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าอาวาส 135 รูป และผู้ใหญ่บ้าน 135 คน รวมจำนวน 384 รูป/คน ได้มาจากการสุ่มชั้นภูมิชนิดสัดส่วน โดยใช้จังหวัดเป็นชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมานคือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ มีผลการศึกษาวิจัย 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารวัด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสูงสุด ได้แก่ ด้านการวางแผน รองลงมาคือ ด้านการจัดองค์กร ด้านการควบคุม ด้านการประสานงาน และด้านการบังคับบัญชา ตามลำดับ 2) ประสิทธิผลในการบริหารวัด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการปกครอง ด้านการสาธารณูปการ ด้านการเผยแผ่ ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ อยู่ในระดับมาก 3) การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารวัด พบว่า พยากรณ์ประสิทธิผล ได้ร้อยละ 80.10  4) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการบังคับบัญชา ด้านการประสานงาน และด้านการควบคุม ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารวัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษ เพิ่มทันจิตต์. หลักการและแนวทางการบริหารงานยุคใหม่ภายใต้ภูมิทัศน์การแข่งขันใหม่ ข้อสังเกตเชิงวิจารณ์ภายใต้กรอบคุณค่าทางสังคมและพุทธธรรมและแนวทางการบริหารแนวพุทธ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ (ก.ย.-ธ.ค. ๒๕๔๙), หน้า ๑๑-๕๕

ธรรมรัตน์ แววศรี. นิยามวัด. (๒๕๕๕). สืบค้นเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๑, จาก http://thammarat๕๒๖๓.blogspot.com/

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก, ๒๕๔๑.

บุญฤทธิ์ เกศจำนง. การนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีเทศบาลนครนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป. มหาวิทยาลัยบูรพา, ๒๕๕๐.

เสาวนีย์ เทพ หัตถี. ชีวิตนี้เพื่อแผ่นดิน = My life for my land. กรุงเทพมหานคร : ธนบรรณ, ๒๕๕๒.

สำนักงานพระพุทธศาสนา. สารสนเทศกรมการศาสนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพระพุทธศาสนา, ๒๕๖๐.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่สิบ พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) สาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐. กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๙.