การฝึกสมาธิแนวพุทธเชิงสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชนไทย

Main Article Content

สุภาพรรณ เพิ่มพูล
อนุชา โสภาคย์วิจิตร์
ณฐภัทร อ่ำพันธุ์

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่องการฝึกสมาธิแนวพุทธเชิงสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชนไทย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือเพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติสมาธิในคัมภีร์พระพุทธศาสนา, ศึกษาแนวทางการฝึกสมาธิที่เหมาะสมแก่เยาวชน, และสร้างรูปแบบการฝึกสมาธิอย่างสร้างสรรค์สำหรับเยาวชนไทย  มีระเบียบวิธีวิจัยได้แก่การศึกษาข้อมูลภาคเอกสารด้านการฝึกสมาธิตามหลักพระพุทธศาสนา  การสำรวจความคิดเห็นด้านการฝึกสมาธิของเยาวชนไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษา และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการฝึกสมาธิ  ผลการวิจัยพบว่าการฝึกสมาธิแนวพุทธเชิงสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวัน  ควรมีรูปแบบที่เริ่มจากการสร้างศรัทธาในการปฏิบัติสมาธิ การใช้วิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับเยาวชน ร่วมกับกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ที่สามารถนำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับตัวเองในการฝึกปฏิบัติในชีวิตประจำวัน   โดยกระบวนการฝึกปฏิบัติ มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ (๑) การปลูกฝังให้มีสัมมาทิฏฐิ ส่งเสริมการรักษาศีล เรียนรู้เรื่องกรรมและผลของกรรม และหลักธรรมสนับสนุนการปฏิบัติสมาธิ ได้แก่ พรหมวิหาร ๔ และอิทธิบาท ๔ เป็นต้น  (๒) วิธีการฝึกสมาธิด้วยวิธีการที่คนส่วนใหญ่เคยฝึก หรือวิธีที่ง่ายต่อการฝึก เช่น การฝึกแบบพุทโธ และการเดินจงกรม เป็นต้น ร่วมกับการสื่อต่างๆในการฝึก และเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ เช่น การเล่านิทานธรรมะ บทเพลงธรรมะ การใช้เกมประกอบการฝึกสติ เป็นต้น  และ (๓) กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในการฝึกสมาธิเพื่อเป็นการสร้างพฤติกรรมการเกิดสมาธิของผู้เข้ารับการฝึก เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติสมาธิเชิงสร้างสรรค์สำหรับเยาวชนไทย ที่สร้างความสนใจแก่เยาวชน จึงเป็นการฝึกที่มีรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติสมาธิ และการปลูกฝังคุณธรรมไปด้วยกันอย่างกลมกลืน และสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินในการฝึก  โดยที่ผู้ฝึกเองสามารถนำหลักปฏิบัติ ไปใช้ในการแนะนำการทำกิจกรรมประจำวันสำหรับเยาวชน ที่มีการนำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ เรื่อง ศีล, ความมีเมตตา, กรรมและผลของกรรม และใช้วิธีการฝึกดูใจตนเอง, และส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). ธรรมนูญชีวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. พิมพ์ครั้งที่ ๘๐. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์สวย, ๒๕๔๐.

__________. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๓๒. กรุงเทพมหานคร : ผลิธัมม์, ๒๕๕๕.

__________. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓. กรุงเทพมหานคร : เอส. อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์, ๒๕๔๘.

__________. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕.กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก, ๒๕๕๓

__________. สมาธิแบบพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ ๑๙. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์, ๒๕๕๗.

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง, ๒๕๖๐.

สุชา จันทน์เอม. จิตวิทยาพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๔๐.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (๒๕๕๐), ๘ คุณธรรมพื้นฐาน [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.moe.go.th/ moe/ th/news /detail.php? NewsID=13677&Key=news_research (๑ สิงหาคม ๒๕๖๑).

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. สถานการณ์และแนวความคิดด้านเด็กและเยาวชน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.nicfd.cf.mahidol.ac.th/th/ index.php/2012-01-12-09-00-46/237-2011-11-14-04-12-09 (๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๑).

สัมภาษณ์ ดร.พรรณี บุญประกอบ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐.

สัมภาษณ์ พระครูสมุห์บุญมา ปภัสสโร เจ้าอาวาสวัดสีกุก จ. พระนครศรีอยุธยา, ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐.

สัมภาษณ์ พระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์ จังหวัดนนทบุรี, ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๑.

สัมภาษณ์ พระมหาวิชาญ สุวิชาโน ผู้อำนวยการส่วนวางแผนและพัฒนาการฝึกอบรมกรรมฐาน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐.

สัมภาษณ์ พระมหาสมใจ สุรจิตโต พระวิทยากรอบรมสามเณร โครงการสามเณรปลูกปัญญา, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐.

สัมภาษณ์ พระราชปริยัติกวี, ศ.ดร., อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑.

สัมภาษณ์ พระวรฤทธิ์ โอภาโส วัดเพลงวิปัสสนา กรุงเทพมหานคร, ๗ กันยายน ๒๕๖๐