ทำไม? ฉันจึงต้องเป็นแม่ที่ดี: แนวคิดในพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

Montree Phetnachak

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “ทำไม? ฉันจึงต้องเป็นแม่ที่ดี: แนวคิดในพุทธศาสนาเถรวาท” พบว่า การพิจารณาการกระทำของหญิงผู้เป็นแม่ อาจแยกออกเป็น ๒ กลุ่มคือ (๑) แม่ผู้เป็นแบบอย่างแห่งความประพฤติที่ดี จะมาจากพื้นฐานชีวิตที่ดี (กุศลมูล) เรียกว่า “แม่แบบแห่งความดี” (๒) แม่ผู้ประพฤติไม่ดี จะมาจากพื้นฐานที่ไม่ดี (อกุศลมูล) เรียกว่า “แม่แบบแห่งความไม่ดี” ในการเป็นแม่แบบแห่งความดี แม่จะต้องมีหลักจริยธรรมที่สำคัญคือ (๑) หลักจริยธรรมของผู้สร้างโลก (พรหมวิหารธรรม) (๒) หลักจริยธรรมสำหรับผู้ควรแก่การบูชา (เทวธรรม) (๓) หลักจริยธรรมสำหรับกัลยาณมิตรผู้เป็นครูของโลก (กัลยาณมิตรธรรม) (๔) หลักกรรม (๕) หน้าที่ตามหลักทิศ ๖ โดยรวมคือ “ไตรสิกขา”หลักจริยธรรมดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับกตัญญูกตเวทีธรรมในลักษณะ “การกระทำเชิงจริยธรรม” โดยแม่จะอยู่ในฐานะ “บุพพการี” และลูกจะอยู่ในฐานะ “กตัญญูกตเวที” ต่างทำหน้าที่ต่อกัน พุทธศาสนากล่าวว่า เหตุผลสำคัญในการที่ลูกจะต้องตอบแทนคุณของแม่เพราะแม่มีบุญคุณ อย่างไรก็ตาม การกระทำเชิงจริยธรรมของทั้งสองฝ่ายนั้นจะต้องตั้งอยู่บนหลักจริยธรรมเรื่อง “ความไม่ประมาท” เป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิชาการ