การสำรวจการรับรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อการตรวจสอบในสำนักงานสอบบัญชีขนาดเล็ก

Main Article Content

สุเมธ กิตติอารีพงศ์
ผศ.ดร.วชิระ บุญยเนตร

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของสำนักงานสอบบัญชีขนาดเล็กในการประยุกต์โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในกระบวนการสอบบัญชี รวมทั้งสำรวจปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้สอบบัญชีและผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานขนาดเล็ก และใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูล


ผลการศึกษาพบว่า สำนักงานสอบบัญชีขนาดเล็กเห็นด้วยในการนำโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในแต่ละขั้นตอนของงานสอบบัญชี โดยเรียงลำดับการให้ความสำคัญจากมากไปน้อยได้ดังนี้ การปฏิบัติงานตรวจสอบ การรายงานและการติดตามผล การวางแผนและประเมินความเสี่ยง อย่างไรก็ตามสำนักงานสอบบัญชีขนาดเล็กยังไม่สามารถนำโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในงานสอบบัญชีได้ เนื่องจากต้นทุนลงทุนสูง และหน่วยงานกำกับดูแลยังไม่มีข้อกำหนด รวมทั้งตัวอย่างการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม นอกจากนี้การศึกษายังชี้ให้เห็นความแตกต่างของลักษณะผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการประยุกต์โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในประเด็นที่เกี่ยวกับพื้นที่ตั้งของสำนักงาน ทุนจดทะเบียน และประสบการณ์การใช้โปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก การศึกษาครั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแลช่วยเหลือสำนักงานสอบบัญชีขนาดเล็กในการนำโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในงานสอบบัญชี เพื่อดำรงไว้ซึ่งข้อได้เปรียการแข่งขันกับสำนักงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานการสอบบัญชี (รหัส 200): วัตถุประสงค์โดยรวมของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและการปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี. สืบค้นจาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/67421
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานการสอบบัญชี (รหัส 300): การวางแผนการตรวจสอบงบการเงิน. สืบค้นจาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/67421
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานการสอบบัญชี (รหัส 315): การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ โดยการทำความเข้าใจกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการ. สืบค้นจาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/67421
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานการสอบบัญชี (รหัส 330): วิธีปฏิบัติของผู้สอบบัญชีในการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้. สืบค้นจากhttp://www.tfac.or.th/Article/Detail/67421
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานการสอบบัญชี (รหัส 700): การแสดงความเห็นและการรายงานต่องบการเงิน. สืบค้นจาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/67421
โสภณ เพิ่มศิริวัลลภ. (มิถุนายน 2559). กระแสแห่งนวัตกรรมทางเทคโนโลยีกับวิชาชีพสอบบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี, 12(34), 59-62. สืบค้นจา http://www.jap.tbs.tu.ac.th/index.php?page=Article-List&sub
ชุตินุช อินทรประสิทธิ์. (2561). การสอบบัญชีในยุค Big Data. สุทธิปริทัศน์, 32(103). 189-201. สืบค้นจาก
https://www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads/magazine/phq6hn8gqxwwg8g8oo.pdf.
เยาวลักษณ์ ชาติบัญชาชัย และ คุณโสภณ เพิ่มศิริวัลลภ. (2559). คำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับ Big data และ Data analytics. สืบค้นจาก http://www.thaiiod.com/imgUpload/file/Library/IT%20Governance/.
วิไลลักษณ์ เอี่ยมจตุรภัทร และวชิระ บุณยเนตร. (2019). การประยุกต์โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อการตรวจสอบบัญชี. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี, 1(2). สืบค้นจาก https://so02.tci thaijo.org/index.php/JFAC/article/view/206754.
สมฤดี ทองมีศร. (2558). แนวทางการแก้ไข ปัญหาในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบบัญชีโปรแกรมการตรวจสอบบัญชี และโปรแกรมระบบตรวจสอบสหกรณ์เชิงลึก ของผู้สอบบัญชีสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น). สืบค้นจาก https://mba.kku.ac.th/ncbmi/proceeding/2015/national/files/504.pdf.
ACCA (2016). Data analytics and the auditor. from https://www.accaglobal.com/in/en/student/exam-support-resources/professional-exams-study-resources/p7/technical-articles/data-analytics.html
Ace Cloud Hosting. (2020). Big Data and Its Impact on the Accounting Industry in 2020. from
https://www.ace-cloudhosting.com/blog/how-big-data-impacting-accounting-firms/
Alles, M and Gray, Glen (2015). THE PROS AND CONS OF USING BIG DATA IN AUDITING: A SYNTHESIS OF THE LITERATURE AND A RESEARCH AGENDA (Master’s thesis, California State University) from http://jebcl.com/symposium/wp-content/uploads/2015/09/The-Pros-and-Cons-of-Using-Big-Data-in-Auditing-A-Synthesis-of-the-Literature-UWCISA-Revised.pdf
Bender, T (2017). The effect of Data Analytics on audit efficiency. (Master’s thesis, ERASMUS University). from https://thesis.eur.nl/pub/38929/Bender_357752.pdf.
Chartered Professional Accountants, CANADA (2017). Survey on Use of Audit Data Analytics in Canada - Results and Possible Implications. from https://www.cpacanada.ca/en/business-and-accounting-resources/audit-and-assurance/canadian-auditing-standards-cas/publications/audit-data-analytics-alert-ada-survey-results
Hampton, Clark (2016). Audit Data Analytics Use: An Exploratory Analysis. (Master’s thesis, University of Waterloo). from https://www.ssrn.com/abstract=2877358.
International Auditing and Assurance Standard Board (IAASB). (2017). Exploring the Growing Use of Technology in the Audit, with a Focus on Data Analytics. from https://www.iaasb.org/
publications/exploring-growing-use-technology-audit-focus-data-analytics.
Institute of Chartered Accountants in England and Wales, ICAEW (2016). Data analytics for external auditors. London.
Pettey, Christy. (2012). Big Data Will Drive $28 Billion of IT Spending in 2012. Press Release, October 17th. Retrieved October 17, 2017. from https://www.businesswire.com/news/home/20121017005374/en/Gartner-Big-Data-Drive-28-Billion-Spending
Rowe, Cathy (2018). Three Ways to Enhance Audit Quality with Audit Data Analytics. from
http://news.cchgroup.com/2018/04/04/three-ways-enhance-audit-quality-audit-data-analytics/accounting-audit/a-a-hot-topics/.
Tang, Jiali and Karim, Khondkar (2017). Big Data in Business Analytics: Implications for the Audit Profession. The CPA Journal: The Voice of the Profession from https://www.cpajournal.com/2017/06/26/big-data-business-analytics-implications-audit-profession/