การเปลี่ยนแปลงของการตรวจสอบภายในยุค 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้ตรวจสอบภายใน ถือว่าเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับภาคธุรกิจ ที่จะทำให้องค์กรเจริญเติบโตก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง แม้ว่าเศรษฐกิจโลกในภาพรวมจะมีทิศทางดีขึ้น แต่ความเสี่ยงก็ปรับเพิ่มมากขึ้น ภายใต้ภาวะที่โลกมีความเสี่ยงสูงนั้น ธุรกิจยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจะเปลี่ยนวิถีชีวิต รูปแบบธุรกิจ รูปแบบการทำงาน รูปแบบความสัมพันธ์ของคนในสังคม นำมาทั้งโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ การตรวจสอบภายใน ถือเป็นเครื่องมือที่มีส่วนสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างถูกต้องโปร่งใส เพราะเป็นกลไกที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุม การรายงานและติดตามผลการปฏิบัติงาน ซึ่งผู้ตรวจสอบภายในมีส่วนร่วมกับผู้บริหารในระดับต่างๆ เพื่อหาแนวทางและวิธีการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เป้าหมายการขับเคลื่อน “ไทยแลนด์ 4.0” คือ การก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง ด้วยนวัตกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ ผู้ตรวจสอบภายในต้องพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตามให้ทันกับธุรกิจที่เดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว ใช้เครื่องมือทางคอมพิวเตอร์และไอทีสมัยใหม่ ผู้ตรวจสอบภายในต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยเทคโนโลยี เช่น การใช้ Data analytics เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้ตรวจสอบภายใน ในยุค Digital ข้อมูลหลากหลายที่อาจไม่เคยถูกเก็บมาก่อน จะมาอยู่ในรูปแบบฐานข้อมูล ดังนั้นผู้ตรวจสอบภายในจึงควรปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงานตรวจสอบภายในให้สอดคล้องกับยุคของ Big Data ควรมีความเข้าใจอย่างเพียงพอต่อการนำ Big Data มาใช้ในกระบวนการตรวจสอบภายใน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ตรวจสอบภายในและผู้รับบริการ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสภาวิชาชีพบัญชี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสภาวิชาชีพบัญชี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสภาวิชาชีพบัญชี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือบางส่วนไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสภาวิชาชีพบัญชี ก่อนเท่านั้น
References
เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
ชุตินุช อินทรประสิทธิ์. (2561). "การสอบบัญชีในยุค Big Data." วารสารสุทธิปริทัศน์ (มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์), 32(103, 189-202.
วิรไท สันติประภพ. (2560). บทบาทการตรวจสอบภายในกับยุค 4.0. สืบค้นจาก https://www.opsmoac.go.th/km-km_article-files-401591791796
สุรพงษ์ ชูรังสฤษฎิ์. (2553). บทบาทผู้ตรวจสอบภายใน ตำรวจลับสู่ที่ปรึกษา. สืบค้นจาก http://kmops.moph.go.th/images/KM/audit/ %20.pdf
สำนักงานตรวจสอบภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2559). การจัดการความรู้เรื่องการตรวจสอบภายใน. สืบค้นจาก http://www.audit.ru. ac.th/km/kmhow.pdf
เอกชัย อาชาพิพัฒน์. (2559). บทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในยุคใหม่ . สืบค้นจาก https://www.spu.ac.th/uploads/contents/ 20161124150928.pdf
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2554). บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในกับการสร้างมูลค่าให้กิจการ. สืบค้นจาก http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/Jba132/ Column/ JBA132SinlapapornC.pdf
มทนา วิบูลยเสข. (2561). คุณลักษณะและกระบวนการเจาะ Big Data มาใช้งาน. สืบค้นจาก https://www.aware.co.th/%E0%B8%84 %E0%B8%B8%E0%B%93%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0-big-data/
ภาษาอังกฤษ
Austin. (2019). Audit Process. Retrieved from https://audit.utexas.edu /audit-process
Consultancy. (2018). Data analytics to become a game changer for internal audit. Retrieved from https://www.consultancy. uk/news/16863/data-analytics-to-become-a-game-changer-for-internal-audit
Data Mining Trend. (2014). Self Consistency. Retrieved from http://dataminingtrend.com/2014/data-mining-techniques/cros s-validation/
Deloitte and Touche LLP and RSA. (2011). Internal Audit Transformation. Retrieved from https://www.emc.com/collateral/solution-overview/11550-pov-iat.pdf
Ernst and Young. (2018). Internal audit transformation. Retrieved from https://www.ey.com/Publication/vwLUAssets/ey-acln- viewpoints-internal-audit-transformation/$File/ey-acln-viewpoints-internal-audit-transformation.pdf
KPMG Phoomchai Audit. (2016). Transforming Internal Audit Through Critical Thinking. Retrieved from https://assets.kpm g/content/dam/kpmg/pdf/2016/05/ch-transforming-internal-audit-broschure-en.pdf
Neii White. (2017). Transformation in the Internal Audit Function. Retrieved from https://ec.europa. eu/ info/ sites/ info/files/white_transformation_in_ia_breakout.pdf
Mark-David Mclaughlin. (2018). COBIT-Value-Creation-Governance-Objective. Retrieved from https://www.researchgate.n et/figure/1-COBIT-Value-Creation-Governance-Objective_fig2_325070486
PRO GLOBAL BUSIESS SOLUTIONS. (2019). Retrieved from http://www.proglobalbusinesssolutions.com/six-steps-in- crisp-dm-the-standard-data-mining-process/
PricewaterhouseCoopers. (2017). Transforming Internal Audit to drive digital value. Retrieved from https://www.pwc.com/s g/en/risk-assurance/assets/internal-audit-transform-ia-to-drive-digital-value.pdf
Protiviti. (2018). The Next Generation of Internal Auditing – Are You Ready. Retrieved from https://www.protiviti.com/US-en/next-generation-internal-auditing-are-you-ready
Smart decisions and Lasting value. (2017). Internal Audit Transformation. Retrieved from https://www.crowe.com/-/media/Crowe/LLP/folio-pdf/Internal-Audit-Transformation-Brochure-RISK-17010-019D.ashx?la=en-US&hash=F56529C71AB815613867 C0C5095CBFCDE67F5A28
Tunde Olanrewaju and Paul Willmott. (2013). Finding your digital sweet spot. Retrieved from https://www.mckinsey.com/business-functions/digital-mckinsey/our-insights/finding-your-digital-sweet-spot
William C. Brown. (2014). The Failed Vasa: COBIT 5 Governance and the Seven Enablers (Part 3). Retrieved from http://www.isaca.org/COBIT/focus/Pages/The-Failed-Vasa-COBIT-5-Governance-and-the-Seven-Enablers-Part-3.aspx