รองเท้ามีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของผู้สอบบัญชีหรือไม่ อย่างไร?

Main Article Content

นนสิชา อุตราภรณ์

บทคัดย่อ

 


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาว่ารองเท้ามีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของผู้สอบบัญชีหรือไม่ อย่างไร โดยมีงานวิจัยพบว่าการสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะกับเท้าหรือออกแบบมาไม่ดีนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดโรคและความเจ็บปวดได้หลายอย่างหลายประการ โดยเฉพาะรองเท้าหุ้มส้นที่ทำจากหนัง ซึ่งรองเท้าชนิดนี้ได้รับอนุญาตให้สวมใส่จากบริษัทสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่งในประเทศไทย ในขณะที่รองเท้าที่ทำจากผ้าทุกชนิดนั้นไม่ได้รับอนุญาต การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์จำนวน 8 คน จากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสายอาชีพสอบบัญชีหรือเกี่ยวข้องกับการออกกฎระเบียบเครื่องแต่งกายและผู้สอบบัญชีที่มีประสบการณ์ทำงานในบริษัทสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่งในไทย ผลการศึกษาพบว่า รองเท้าที่ดีต่อสุขภาพส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของผู้สอบบัญชี โดยการสวมใส่รองเท้าที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยส่งเสริมให้สภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้สอบบัญชีดีขึ้น ในแง่ของการเดินทางสะดวกและลดอาการเจ็บปวดจากการใส่รองเท้าไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งผลต่อปัจจัยส่วนบุคคลด้านความพึงพอใจของพนักงานแก่ให้เกิดความผูกพันกับองค์กรในระยะยาว ดังนั้นถ้าผู้สอบบัญชีสามารถใส่รองเท้าที่ดีต่อสุขภาพจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานในระยะยาว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ลูกค้าอาจตัดสินความเป็นมืออาชีพของผู้สอบบัญชีจากการแต่งกายและภาพลักษณ์ ดังนั้นผู้สอบบัญชีจึงควรเลือกสวมรองเท้าที่ดีต่อสุขภาพและสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรของลูกค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (2562). ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2562 จาก http://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1469
ขวัญชัย ชมศิริ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2, 490-504.
ดารณี เอื้อชนะจิต. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสำเร็จทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ดุจใจ ชัยวานิชศิริ. (2552). ปัญหาสุขภาพเท้าและรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ. (2559). ความหมายและขอบเขตของการบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี, 12(13), 95.
ปริยาภัทร เล็กประยูร. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีในสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่: การศึกษาเชิงสำรวจ. โครงการวิจัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
รัชนี บินยาเซ็น. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 5(1), 209-217.
สงกรานต์ ไกยวงษ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเป็นมืออาชีพของนักวิชาชีพบัญชีไทยในบริบทของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบภาษีอากร. สุทธิปริทัศน์, 33-54.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2553). (รอง) เท้านั้นสำคัญไฉน, APO Digest, (15), 8-12.
สมชาย สุภัทรกุล. (2542). คุณภาพของงานสอบบัญชีกับขนาดของสำนักงานสอบบัญชี. วารสารบริหารธุรกิจ, 83, 21-31.
Anderson-Gough, F., Grey, C., and Robson, K. (2000). In the Name of the Client: The Service Ethic in Two Professional Services Firms. Human Relations, 53(9): 1151-1174.
Carrington, T. (2010). An analysis of the demands on a sufficient audit: Professional appearance is what counts! Critical Perspectives on Accounting, (21), 669-682.
Dawson, J. , Thorogood, M., Marks, SA., Juszczak, E., Dodd, C., Lavis, G., and Fitzpatrick, R. (2002). The prevalence of foot problems in older women: a cause for concern. J Public Health Med., 24(2) :77-84.
Geiger, M. A. (2002). Appearances Are Important: Outsourced Internal Audit Services and the Perception of Auditor Independence. The CPA Journal, (72). 20-25.
Guest, G., Bunce, A., Johnson, L. (2006). How Many Interviews Are Enough?: An Experiment with Data Saturation and Variability. Sage Journal, (18). 3-20. From https://doi.org/10.1177/1525822X05279903.
Huw Jones. (2018). Reports Call for Reducing Big 4 Accounting Firms’ Dominance in British Company Audits. Insurance Journal.
Mario Christodoulou. (2011). U.K. Auditors Criticized on Bank Crisis. Wall Street Journal.
Nastasi. (2005). Contributions of Qualitative Research to the Validity of Intervention Research. Journal of School Psychology, (43). 177-195.
Humphrey, C., Moizer, P., and StuartTurley, S. (1992). The audit expectations gap—plus ca change, plus c'est la meme chose?. Critical Perspectives on Accounting, Volume 3, Issue 2, June, Pages: 137-161.
HRM Asia Newsroom. (2018). Flexible dress code every day at PwC. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2562 จาก http://hrmasia.com/flexible-dress-code-every-day-at-pwc/
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. การกำกับรายงานทางการเงินและผู้สอบบัญชี. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2562 จาก https://www.sec.or.th/TH/Pages/LawandRegulations/AuditorAccount.aspx
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 200 วัตถุประสงค์โดยรวมของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและการปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2562 จาก http://www.fap.or.th/upload/9414/NXQx9ehJa7.pdf__
Pentland, B.T. (1993). Getting comfortable with the numbers: Auditing and the micro-production of macro-order. Accounting, Organizations and Society, vol.18, issue 7-8, 605-620.