ภาพลักษณ์ “ธรรมราชา” ในฉันท์สรเสริญพระมหามณีรัตนปฏิมากร และฉันท์ดุษฎีสังเวยพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์, ธรรมราชา, ฉันท์ดุษฏีสังเวยพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการถ่ายทอดภาพลักษณ์ “ธรรมราชา” ในฉันท์ดุษฎีสังเวย 2 เรื่อง ได้แก่ ฉันท์สรเสริญพระมหามณีรัตนปฏิมากรของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร และขุนสารประเสริฐ และฉันท์ดุษฎีสังเวยสมโภชพระพุทธมหามณีรัตน ปฏิมากรและกาพย์ขับไม้สมโภชพระราชนิพนธ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมุ่งศึกษาภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ที่กวีถ่ายทอดผ่าน มโนทัศน์ของคติธรรมราชาทั้ง 2 รัชสมัย ได้แก่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผลการศึกษาพบว่า ฉันท์ดุษฎีสังเวยพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทั้ง 2 เรื่อง ปรากฏการถ่ายทอดภาพลักษณ์ธรรมราชา 3 ลักษณะ ได้แก่ ทศพิธราชธรรม ราชสังคหวัตถุ และจักรวรรดิวัตร ซึ่งปัจจัย ที่ส่งผลให้การถ่ายทอดภาพลักษณ์ธรรมราชามีความแตกต่างกัน ได้แก่ พระราชจริยาวัตร สภาพสังคม วัฒนธรรม และบริบท การนำไปใช้ อีกนัยหนึ่งที่แฝงไว้ในฉันท์ดุษฎีทั้ง 2 เรื่อง คือการกล่าวถึงพระปรีชาสามารถในด้านต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ไทย ได้แก่ ด้านการประพันธ์ ด้านภาษา ด้านการส่งเสริมการประกอบอาชีพ และด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าฉันท์ดุษฎีสังเวย ทั้ง 2 เรื่อง ได้ทำหน้าที่สะท้อนพระราชจริยาวัตรของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ และความสามารถของกวีในการประพันธ์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และแฝงด้วยการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย ผ่านมุมมอง “ธรรมราชา” อย่างสมบูรณ์
References
เกียรติศักดิ์ ทองจันทร์. (2546). ตับฉันท์ดุษฎีสังเวยพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 6(2), 84 - 102.
ชัยรัตน์ พลมุข. (2552). วรรณคดีประกอบพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์ : แนวคิดธรรมราชากับกลวิธีทางวรรณศิลป์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธุลีพระบาท. (2554). ธรรมะแห่งพระราชา. กรุงเทพฯ : แสงดาว.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2542). ธรรมรัฐ-ธรรมราชา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระครูสุนทรเขมาภินันท์ และคณะ. (2560). รูปแบบธรรมราชาในสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(2) ; 475-488.
ราชบัณฑิตยสภา. (2554). ธรรมราชา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. https://dictionary.orst.go.th.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2534). มณีพลอยร้อยแสง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). 2560. ธรรมของพระราชา. https://www.watnyanaves.net.
สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร. (2503). ชุมนุมฉันท์ดุษฎีสังเวย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.
สุวิทย์ ภาณุจารีและลัดดา ผลวัฒนะ. (2559). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับธรรมาภิบาลแนวพุทธ.วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 7(1), 135-148.
เสาวณิต วิงวอน. (2530). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมยอพระเกียรติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.