การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษล้วน) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

ลักษณะของวารสาร

วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นวารสารเผยแพร่บทความวิชาการ – วิจัยบทความปริทัศน์ และบทความรายงานการวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณ และบุคลากรจากหน่วยงานภายนอก โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสาร รายงาน หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน
  2. เนื้อหา บทความ หรือข้อคิดเห็นที่พิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น กองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
  3. ต้นฉบับจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนการตีพิมพ์
  4. ต้นฉบับจะเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  และต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  5. ต้นฉบับต้องพิมพ์บนกระดาษขาว ขนาด  A4 พิมพ์หน้าเดียว ใส่เลขกำกับหน้าทุกหน้า พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Word ใช้แบบอักษร (Font) TH SarabunPSK ขนาด 16
  6. ถ้ามีภาพประกอบ ควรเป็นภาพถ่ายขาว – ดำ ที่ชัดเจน
  7. ถ้าเป็นภาพวาดลายเส้น ให้วาดบนกระดาษขาวโดยใช้หมึกดำให้สะอาดและลายเส้นคมชัด
  8. ความยาวของเนื้อเรื่อง ภาพประกอบ ตาราง  และบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวมเอกสารอ้างอิงไม่ควรเกิน 20 หน้า

การเตรียมต้นฉบับ

รายละเอียดขนาดตัวอักษรและรูปแบบการพิมพ์

          ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 เว้นขอบด้านบน /ขอบด้านซ้าย 1.5 นิ้วเว้นขอบด้านล่าง / ขอบด้านขวา 1 นิ้ว

      ส่วนประกอบของบทความ

      รูปแบบการพิมพ์

ขนาดตัวอักษร

    ลักษณะตัวอักษร

 ชื่อบทความ

 กลางหน้ากระดาษ

           18

 ตัวหนา

 ชื่อผู้แต่ง

 ชิดขวา

           14

 ตัวธรรมดา

 บทคัดย่อ

   -ภาษาไทย

   -ภาษาอังกฤษ

 ชิดซ้าย

           16

 หัวข้อตัวหนา

 เนื้อหาตัวปกติ

 หัวข้อแบ่งตอน

 ชิดซ้าย

           16

 ตัวหนา

 หัวข้อย่อย

 ใช้หมายเลข

           16

 ตัวปกติ

 เนื้อหาบทความ

 -

           16

 ตัวปกติ

 การเน้นความในบทความ

 -

           16

 ตัวปกติ

 ข้อความในตาราง

 -

           14

 ตัวปกติ

 บรรณานุกรม

 กลางหน้ากระดาษ

           18

 ตัวหนา

 ภาพประกอบ/คำอธิบายใต้ภาพ

 กลางหน้ากระดาษ

           14

 ปกติ

ชื่อเรื่อง ควรกระชับและตรงกับเนื้อเรื่อง

ชื่อผู้เขียน

  1. ระบุชื่อ – นามสกุลจริง (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) โดยวางไว้ทางขวามือใต้ชื่อของบทความ
  2. ระบุเชิงอรรถของผู้เขียน ซึ่งประกอบด้วย ตำแหน่งทางวิชาการ คุณวุฒิ สาขาวิชา/ภาควิชา คณะ สถาบัน และ e-mail ตามลำดับ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

บทคัดย่อ

  1. บทความภาษาไทย ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยใช้บทคัดย่อภาษาอังกฤษก่อนบทคัดย่อภาษาไทย และจำนวนคำไม่เกิน 300 คำ
  2. บทความภาษาอังกฤษ ต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้บทคัดย่อภาษาไทยก่อนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ และจำนวนคำไม่เกิน 300 คำ
  3. คำสำคัญ ท้ายบทคัดย่อให้ผู้เขียนกำหนดคำสำคัญ (Keywords) สำหรับคำดัชนีเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 5 คำ 

เกณฑ์การพิจารณาบทความ

      1. กองบรรณาธิการวารสารพิจารณาคัดเลือกคุณภาพบทความ และ/หรือปรับแก้ตามความเหมาะสมก่อนส่งผู้ทรงคุณวุฒิ

      2. ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewer) ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่าน ที่มิใช่สังกัดเดียวกับผู้ประพันธ์ เป็นผู้พิจารณาเนื้อหาสาระ ตรวจสอบความถูกต้อง และคุณภาพทางวิชาการของบทความและเห็นชอบให้ตีพิมพ์อย่างน้อย 2 ใน 3 ท่าน

  • กรณีที่ผู้เขียนบทความต้องการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติม ผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 1,000 บาท/ท่าน และบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ใน 4 ท่าน หากผลการพิจารณาผ่านเป็น 2 ใน 4 ท่าน ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพิจารณาของบรรณาธิการ
  • กรณีผลประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นชอบให้ตีพิมพ์น้อยกว่า 2 ใน 3 ท่าน ทางกองจัดการฯจะดำเนินการแจ้งผลขอปฏิเสธการตีพิมพ์บทความดังกล่าว โดยกองจัดการวารสารฯจะไม่คืนค่าตีพิมพ์ให้กับเจ้าของบทความ
  • กรณีเมื่อเสนอบทความต่อผู้ทรงคุณวุฒิแล้วไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร ผู้เขียนบทความประสงค์จะไม่ตีพิมพ์ในวารสาร กองจัดการวารสารฯจะไม่คืนค่าตีพิมพ์ให้กับเจ้าของบทความ

      3. กองบรรณาธิการวารสารจะไม่คืนต้นฉบับให้กับเจ้าของบทความในทุกกรณี

ประเภทของบทความที่รับพิจารณา

  1. บทความวิจัย (Research Articles)
  2. บทความวิชาการ (Academic Articles)
  3. บทความปริทัศน์ (Review Article)

รูปแบบการเขียนบทความ

1.  บทความวิชาการ – วิจัย เป็นบทความที่มีประเด็นหรือแนวคิดที่ชัดเจน มีสาระทางวิชาการที่ถูกต้อง ทันสมัย การวิเคราะห์เป็นไปตามแนวคิดหรือทฤษฏีที่เหมาะสมและชัดเจน มีทัศนะของผู้เขียนบนฐานของข้อเท็จจริงทางวิชาการ ค้นคว้าอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและเชื่อถือได้ นำเสนอข้อมูล  อย่างเข้าใจง่าย ใช้ศัพท์และภาษาทางวิชาการถูกต้องเหมาะสม บทความวิชาการอาจเป็นประเด็นใดประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญในงานวิจัยฉบับสมบูรณ์หรือเป็นผลการศึกษาในภาพรวมจากงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ บทความต้องประกอบด้วย

  • ชื่อเรื่อง (ไทย – อังกฤษ)
  • บทคัดย่อ (ไทย – อังกฤษ)
  • บทนำ
  • เนื้อหา
  • สรุป
  • เอกสารอ้างอิง (ไทย – อังกฤษ)

2.  บทความปริทัศน์  เป็นบทความที่เกิดจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ในประเด็นใดประเด็นหนึ่งจาก ข้อมูลที่หลากหลาย แสดงให้เห็นถึงความเป็นมา พัฒนาการ และแนวโน้มในอนาคตของการศึกษาในประเด็นนั้น ๆ บทความต้องประกอบด้วย

  • ชื่อเรื่อง (ไทย – อังกฤษ)
  • บทคัดย่อ (ไทย – อังกฤษ)
  • บทนำ
  • เนื้อหา
  • สรุป
  • อ้างอิง (ไทย – อังกฤษ)

ทั้งนี้  รูปแบบการเขียนบทความสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมตามหลักวิชาการ

รูปแบบของการอ้างอิงและการเขียนเอกสารอ้างอิงส่วนท้ายเล่ม

          การระบุแหล่งที่มาของข้อมูล 1) ในเนื้อเรื่องให้ใช้วิธีการอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแบบนามปี (author-date in text citation) โดยระบุ ชื่อผู้้แต่งและปีพิมพ์ของเอกสารไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้างอิง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และระบุเลขหน้าเอกสารอ้างอิงในกรณียกข้อความมาทั้งหมด  2) การอ้างอิงส่วนท้ายเล่ม โดยรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในการเขียนผลงานนั้น ๆ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ภายใต้หัวข้อ “บรรณานุกรม” สำหรับผลงานวิชาการภาษาไทย หรือ “ Reference ” สำหรับผลงานวิชาการภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) ดังปรากฎในตัวอย่างต่อไปนี้

1.  หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง./ /(ปีที่พิมพ์)./ /ชื่อเรื่อง/(ครั้งที่พิมพ์)./ /เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

โกวิท  วงศ์วัฒน์. (2550). การเมืองการปกครองรัสเซีย. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.

สายทอง  มณีเชษฐา. (2554). การใช้อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น. ปราจีนบุรี : สำนักงานคณะกรรมการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2556, จาก https://www.krusaithong.com/chapter4.html.

Wong, W.  (2005).  Input enhancement from theory and research to the classroom. New York : McGraw – Hill.

 

2.  บทความ / เรื่อง / ตอน ในหนังสือรวมเรื่อง

ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//“ชื่อบทความ,”/ใน บรรณาธิการ (ถ้ามี),/ชื่อหนังสือ.//(หน้าของบทความ). เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

อรทัย วารีสะอาด.  (2537).  “ความขัดแย้งระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง” ใน สุพัฒน์  ส่องแสงจันทร์ และ พวา  พันธุ์เมฆา (บรรณาธิการ), บนถนนสายวิชาชีพ. (หน้า 127 – 130). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Arhuckle, J.L.  (1996).  “Full information estimation in the presence of incomplete data,” In G.a. Morcoulides  and  R.E. Schumaker (Eds),  Advanced structural equation modeling : Issues and techniques  (p. 243 -277).  Mahwah, NJ : Lawrence Erlbaum Associates.

 

3.  บทความในวารสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//“ชื่อบทความ”,/ชื่อวารสาร.//ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.

ตัวอย่าง

วริสรา พึ่งทองหล่อ. (2553). “สมุนไพรไทยโอกาสอาหารเพื่อสุขภาพ,”  วารสารส่งเสริมการลงทุน. 21(2), 43 – 47.

Taylor, A. (2006). “Factors associated with glossing : comments on ko,”  Reading in a Foreign Language. 18 (1), 72 – 73.

 

4.  บทความจากหนังสือพิมพ์

ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปี, วันที่, เดือน).// ชื่อบทความ, /ชื่อหนังสือพิมพ์.// เลขหน้า.

ตัวอย่าง

กัมปนาท  ขันตระกูล.  (2555, 7 ธันวาคม).  เสียงสะท้อน SME : วิสาหกิจชุมชนโคกขาม จังหวะก้าวที่รอการ ช่วยเหลือ, คมชัดลึก. 10.

พฤทธิ์  ศิริพรรณพิทักษ์. (2550, 2 ก.ค.) “ครูต้องใฝ่รู้ – พัฒนาตัวเอง,”  ข่าวสด. หน้า 11. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2554, จาก http://www.moe.go.th/new_centerlnews--htm.

Abdullah-Mahathir row Frustated M'sian PM strikes back. (2006, October 28). The Nation. 4A.

 

5.  บทความจากเว็บไซต์กรณีไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง

“ชื่อบทความ”/สืบค้นเมื่อ วัน เดือน ปี ที่สืบค้น,/จากชื่อเว็บไซต์. 

ตัวอย่าง

“เทคนิคการสืบค้นข้อมูล” สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2550, จาก http ://www.gtoknow.org/blogs.com.

Economic indicators and releases,”   Retrieved February, 19, 2013, from : https://www.nber.org/releases/.

Einstein, A. (2002). Relativity : The special and general theory. New Year : McGraw – Hill. Retrieved February, 20,                2013, from http:www.geocities.com  

 

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ เก็บหลังการ accept 

1. บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยทักษิณ / บุคลากร และนิสิต ภายในมหาวิทยาลัยทักษิณ บทความละ 3,000 บาท (-สามพันบาทถ้วน-)

2. บุคลากร และนิสิต สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จะได้รับการยกเว้นการจัดเก็บค่าลงตีพิมพ์

 

นโยบายส่วนบุคคล

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.