กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ระบบบัญชีของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จิระวรรณ จิตต์เขม้น นักศึกษาปริญญาเอก, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ศิรชญาน์ การะเวก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, การพัฒนาศักยภาพบุคลากร, ซอฟต์แวร์ระบบบัญชี

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ระบบบัญชีของประเทศไทย (2) วิเคราะห์องค์ประกอบของ  กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ระบบบัญชี

ผลการวิจัยพบว่า (1) พบว่า การบริหารจัดการ สมรรถนะในการทำงานด้านซอฟต์แวร์ระบบบัญชี มีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ระบบบัญชี อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.05, 0.74, 1.05, 0.17 ตามลำดับ และการบริหารจัดการ สมรรถนะในการทำงานด้านซอฟต์แวร์ระบบบัญชี มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ระบบบัญชี มีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.12, 0.35, 0.22, 0.44 ตามลำดับ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลทางตรงต่อกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ระบบบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.09  (2) พบว่าองค์ประกอบของกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ระบบบัญชี การบริหารจัดการ สมรรถนะในการทำงานด้านซอฟต์แวร์ระบบบัญชี การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01  ผลทำให้โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สถิติที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ X2 = 108.69,df = 87, (p) = 0.05,GFI = 0.97, AGFI = 0.95, NFI = 0.97, NNFI  = 0.99 , CFI  = 0.99  RMR = 0.03 และ RMSEA = 0.02

Author Biographies

จิระวรรณ จิตต์เขม้น, นักศึกษาปริญญาเอก, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

นักศึกษาปริญญาเอก, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ศิรชญาน์ การะเวก, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

References

กิรติพงษ์ ปัญญาเรือง และสันติธร ภูริภักดี. (2558). กลยุทธ์ความได้เปรียบการแข่งขันที่มีต่อผลความสำเร็จในการดำเนินงานตามแนวคิด Balance Scorecard ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแปรรูปอาหารของจังหวัดสุพรรณบุรี. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1, 803-816. 2016 ณ สถาบันราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์ : สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.

กรมสรรพากร. (2561). https://www.rd.go.th/publish/5991.0.html. รายชื่อและเลขประตัวผู้ประกอบการที่จำหน่ายซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานซอฟต์แวร์.

พงศธร สีสุระ. (2561). การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่มีผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธุรกิจอาหารทะเลในประเทศไทย, วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, silpakorn University. 11(2), 1975-1993.

พรชัย เจดามาน, นิตยาพร กินบุญ และไพฑูรย์ พิมพ์ดี. (2560). ทรัพยากรมนุษย์:มิติการบริหาร จัดการศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สูตรไพศาลบิวเดอร์.

วรรณวิภา ไตลังคะ. (2555). การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา : ข้อจำกัด และปัจจัยแห่งความสำเร็จ, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 4(2), 210-231.

ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา แนวคิด ทฤษฎีและบทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง, วารสารวิชาการ Viridian E-Journal. 7(3), 845-862.

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). “รายงานผลการสำรวจข้อมูลตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์” (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

อรฉัตร เลี้ยงพิบูล และคณะ. (2551). ศึกษาสภาวะอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทย. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

อารีย์ มยังพงษ์. (2559). การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับบัณฑิต ใหม่ก่อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Allen, L. (1973). Human resource management principles and practice. New York : Melvin & Leigh.

Jackson, D. L. (2003). Revisiting sample size and number of parameter estimates some support for the N :q hypothesis, Structural Equation Modeling. 10(1), 128-141.

Kline, R. B. (2010). Principles and practice of structural equation modeling (3rd ed.). New York : The Guilford Press.

McClelland, D. (1993). Intelligence Is not the best predictor of job performance. Retrieved September 12, 2018, from https : //www.journals.sagepub.com/doi/10.1111/1467-8721.ep10770447.

Schumpeter, J. A. (1983). Capitalism, socialism & democracy. New York New York : Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28