การท่องเที่ยวเมืองรอง : ทางเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวทางเลือก, การท่องเที่ยวเมืองรอง, การทอ่งเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, จังหวัดราชบุรีบทคัดย่อ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี ปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบายส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ เน้นการท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืนและกระจายโอกาสในเชิงพื้นที่ให้กับท้องถิ่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดทำโครงการการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด ใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย โดยมุ่งหวังจะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวและยกระดับฐานรากให้มีความเข้มแข็ง จากการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ซึ่งเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยวต้องเข้ามามีส่วนร่วม จังหวัดราชบุรี เป็นหนึ่งในเมืองรองที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม 8 ชาติพันธุ์ที่มีคุณค่า ความหลากหลายของภูมิทัศน์ ระยะทางที่ใกล้กรุงเทพฯ และการเป็นเมืองชายแดน เหล่านี้ล้วนเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวทางเลือก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการเชื่อมโยงความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และความสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว และเจ้าของท้องถิ่น ผ่านประสบการณ์ตรงที่เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองเสมือนชีวิตจริง ตระหนักในคุณค่าส่วนรวม ฐานรากพึ่งพาตนเองได้ และสรรค์สร้างราชบุรีให้เป็นเมืองน่าอยู่
References
จิตคุปต์ ละอองปลิว. (2559). การปรับตัวและการมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ใช้น้ำในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท กรณีศึกษาอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี, วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 10(2), 152-177.
ทิพย์วดี โพธิ์สิทธิพรรณ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, FEU ACADEMIC REVIEW. 6(2), 43-48.
นันทิยา ตันตราสืบ และวารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2561). วัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นสู่รูปแบบการท่องเที่ยวอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน. 9(1), 139-158.
พจนา สวนศรี. (2546). การจัดการนันทาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรรมาธิราช.
ภัทรพงศ์ อินทรกำเนิด. (2553). ระบบนวัตกรรมรายสาขาเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานความรู้และเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (รายงานการวิจัยเรื่อง). กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายด้านการศึกษามหภาค สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ภัยมณี แก้วสง่า และนิศาชล จำนงศรี. (2555). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : ทางเลือกใหม่ของการท่องเที่ยวไทย, Suranaree Journal of Social Science. 6(1), 92-109.
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย, วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 33(2), 331-366.
มติชนออนไลน์. (2561). ททท.งัด 7 คัมภีร์ Go Local บุกครึ่งหลังปี 61 ต่อยอด 4 เดือนแรก 55 เมืองรองโกย 8 หมื่นล้าน. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561, จาก https ://www.matichon.co.th/publicize/news_1018615.
มัสลิน วุฒิสินธุ์. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางเลือกแบบผสมผสานในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนตำบลท่าข้าม จังหวัดฉะเชิงเทรา, วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(2), 442.
รพีพรรณ จันทับ และลินจง โพชารี. (2559). ปัจจัยด้านอัตลักษณ์ทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์, วารสารการจัดการ. 5(1), 48-59.
รัศมี อ่อนปรีดา. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดราชบุรีและสมุทรสงคราม, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 6(1), 135-145.
วิชสุดา ร้อยพิลา และปรีดา ไชยา. (2558). อ งค์ประกอบของทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ของจังหวัดกาฬสินธุ์, วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์. 10(3), 197-211.
วิไลวรรณ ทวิชศรี. (2560). อัตลักษณ์ชุมชน : แนวคิดและการจัดการเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยหลักพุทธสันติวิธีของเทศบาลตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย, วารสารศิลปการจัดการ. 1(2), 63-74.
ศลิษา ธีรานนท์ และประกาศิต โสภณจรัสกุล. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : ทางเลือก-ทางรอดของการท่องเที่ยวไทย, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี. 8(2), 206-215.
สมจินต์ ชาญกระบี่ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2560). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี, Veridian E-Journal. 10(2), 2410-2425. สืบค้นเมื่อ25 ตุลาคม 2561,
จากเว็บhttps ://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-EJournal/article/view/103541/82793.
สัจจา ไกรศรรัตน์. (2555). การศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพจังหวัดราชบุรีในฐานะแห่งท่องเที่ยว, วารสารวิชาการการท่องเที่ยวนานาชาติ. 8(1), 57-80.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2561,
จาก http ://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.
สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2560-2564. ราชบุรี : สำนักงานฯ.
สุประภา สมนักพงษ์. (2560). อัตลักษณ์ชากังราวจากเมืองประวัติศาสตร์สู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 8(2), 140-154.
ห้าวหาญ ทวีเส้ง, ปานแพร เชาวน์ประยูร และเฉลิมชัย ปัญญาดี. (2561). การพัฒนาโครงข่ายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จังหวัดสตูลม, วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน. 9(1), 159-180.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2555). โครงการต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2561, จากhttp : //www.dasta.or.th.
BLT Bangkok. (2561). เที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษีปี 61, สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2561, จาก http ://www.bltbangkok.com/CoverStory.
Boonlert Jittangwatana. (2007). Sustainable Tourism Development. Bangkok : Press & Design.
Goeldner, C. and Ritchics, B.J. (2006). Tourism : principles, practices, philosophies. N.J. : J Wiley.
Kiper, T. (2013). Role of Ecotourism in Sustainable Development, Advance in Landscape Architecture. N.P. : n.p.
Nisa Chatchakul. (2014). Tourism Industry. Bangkok : Chulalongkorn University Press.