แม่หนุ้ย : ความหมาย คุณค่า และภาพสะท้อน อำนาจของผู้หญิงใต้

ผู้แต่ง

  • สุชีรา ผ่องใส นิสิตปริญญาเอก, สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา
  • พรพันธุ์ เขมคุณาศัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา
  • ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา
  • เบญจพร ดีขุนทด นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

แม่หนุ้ย, คุณค่า, อำนาจ, ผู้หญิงใต้

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย คุณค่า และภาพสะท้อนอำนาจผู้หญิงในสังคม   คนใต้ ผ่านความเชื่อ “แม่หนุ้ย” กรณีศึกษา บ้านหน้าเขา บ้านทุ่งสมอ และบ้านหนองเก้าวา ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวบรวมข้อมูลจากคนในตระกูลเก่าแก่ จำนวน 8 ตระกูล ด้วยวิธีการสังเกต และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการศึกษา พบว่า ความหมายแม่หนุ้ย ปรากฏใน 3 มุมมอง ได้แก่ การจัดลำดับชั้นความสัมพันธ์ทางครอบครัวและเครือญาติ กฎเกณฑ์ ในการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวและเครือญาติ และการแสดง อำนาจผ่านพื้นที่ของแม่หนุ้ยภายในบ้าน การปฏิบัติตามความเชื่อแม่หนุ้ยก่อให้เกิด คุณค่า 4 ประการ ได้แก่ ความภาคภูมิใจในสายตระกูลของตนเอง การเคารพผู้อาวุโส การยอมรับในการอยู่ร่วมกัน การทำตามจารีตและกฎเกณฑ์ดั้งเดิม สำหรับภาพ สะท้อนอำนาจของผู้หญิงใต้ จากการปฏิบัติตามความเชื่อแม่หนุ้ย พบว่า แต่ละสาย ตระกูลให้ผู้หญิงมีอำนาจในการครอบครองและการกำหนดพื้นที่ตั้งแม่หนุ้ย ภายในบ้าน มีกฎเกณฑ์และการสืบทอดความเชื่อจากรุ่นสู่รุ่น กฎเกณฑ์เหล่านี้ ควบคุมวิถีปฏิบัติของคนในครอบครัวและเครือญาติก่อให้เกิดความมั่นใจในการ ดำเนินชีวิต และความร่มเย็นเป็นสุขในครอบครัวทั้งนี้คนใต้เชื่อว่าการสืบทอด แม่หนุ้ยเป็นอำนาจของผู้หญิงที่อยู่ในสถานภาพความเป็นแม่เท่านั้นโดยแม่จะส่งมอบ แม่หนุ้ยให้กับลูกสาวที่ออกเรือนเมื่อลูกสาวมีบุตรแม่จะเป็นผู้ตั้งสอบแม่หนุ้ยให้ที่ บ้านของลูกสาวทุกคนคนทั้งสามชุมชนเชื่อว่าแม่หนุ้ยมีอำนาจให้ความคุ้มครอง ลูกหลานที่เกิดใหม่ให้เจริญเติบโต แข็งแรงผ่านพิธีเปิดปาก การขึ้นเปลและ การขึ้นเรือนลงล่างนอกจากนี้ในพิธีกรรมโนราโรงครูจะต้องตั้งโรงแม่หนุ้ยทุกครั้ง และ ร่างทรงแม่หนุ้ยจะต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งสะท้อนว่าคนใต้ยอมรับให้ผู้หญิง มีอำนาจในพื้นที่ ‘บ้าน’ จึงทำให้ความเชื่อ “แม่หนุ้ย” สืบทอดอยู่ในครอบครัวคนใต้ จนถึงปัจจุบัน

Author Biographies

สุชีรา ผ่องใส, นิสิตปริญญาเอก, สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

นิสิตปริญญาเอก, สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

พรพันธุ์ เขมคุณาศัย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

เบญจพร ดีขุนทด, นักวิชาการอิสระ

นักวิชาการอิสระ

References

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และพรพิไล เลิศวิชา. (2539). ทิศทางวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชยันต์ วรรธนะภูติ. (2549). “คนเมือง : ตัวตนการผลิตซ้ำสร้างใหม่ และพื้นที่ทางสังคมของคนเมือง,”อยู่ชายขอบมองลอดความรู้. (33 -73). กรุงเทพฯ : มติชน.

ชยันต์ วรรธนะภูติ. (2549). คนเมือง : ตัวตนการผลิตซ้ำสร้างใหม่ และพื้นที่ทางสังคมของคนเมือง, ใน อยู่ชายขอบมองลอดความรู้, 33 -73 . กรุงเทพฯ : มติชน.

ชาญณรงค์ เที่ยงธรรม. (2542). จังหวัดนครศรีธรรมราช, ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 8, 3598 – 3616. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2550). เล่าเรื่องเมืองใต้. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

พิชัย แก้วขาว และบุญเลิศ จันทระ. (2550). วัฒนธรรมศาสตราวุธภาคใต้. สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา.

ภิญโญ จิตต์ธรรม. (2542). กาศครู, ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 1, 382 – 38. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

รัตนา โตสกุล. (2548). มโนทัศน์เรื่องอำนาจ. ก รุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

วิทยา บุษบงค์. (2557). ผี : ภาพสะท้อนความเชื่อชาวบ้านลุ่มทะเลสาบสงขลา, มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 5(1), 114 – 127.

เวียน ชนะกุล. (2542). แม่นุ้ย : ผีเรือน, ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 13, 6186 – 6187. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2540). โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กับการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2553). อำนาจ, ใน แนวความคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3), 209- 215. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Lefebvre, H. (1991). The production of space. (Donald Nicholson-Smith,Translator). Massachusetts : Blackwell.

Metzo, K. (2008). Sacred Landscape, Healing Landscape : “Taking the Waters” In Tunka Valley, Russia, Sibirica. 7(1), 51 - 72.

Sheldrake, P. (2001). Spaces for the sacred : place, memory, and identity. Maryland : The Johns Hopkins University Press

บุคลานุกรม
แช่ม ช่างคิด (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุชีรา ผ่องใส (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านหนองเก้าวา บ้านเลขที่ 97 หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558.

ถวิล ขวัญเมือง (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุชีรา ผ่องใส (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านทุ่งสมอ บ้านเลขที่ 75 หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558.

ยูร ขวัญเมือง (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุชีรา ผ่องใส (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านหนองเก้าวา บ้านเลขที่ 132 หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559.

สาย ขวัญเมือง (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุชีรา ผ่องใส (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านทุ่งสมอ บ้านเลขที่ 77 หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558.

สิทธิพร อำลอย (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุชีรา ผ่องใส (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านทุ่งสมอ บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559.

ไสว อินทร์ทอง (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุชีรา ผ่องใส (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านทุ่งสมอ บ้านเลขที่ 19 หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558.

เหิม เจริญรูป (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุชีรา ผ่องใส (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านหนองเก้าวา บ้านเลขที่ 132 หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30