การสังเคราะห์องค์ความรู้อัตลักษณ์จีนในประเทศไทยในรอบ 22 ปี (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2560)

ผู้แต่ง

  • หลี่ เส้าฮุย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

คำสำคัญ:

องค์ความรู้, อัตลักษณ์จีน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้อัตลักษณ์จีนในประเทศไทยในรอบ 22 ปี (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2560) โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงเอกสาร รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ 5 ฐาน ได้งานวิจัย จำนวน 50 เรื่อง ผลการสังเคราะห์ข้อมูลสามารถจำแนกองค์ความรู้ ออกเป็น 5 ช่วง ดังนี้ ช่วง พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2540 พิธีกรรมของชาวจีน และพัฒนาการคำจีนที่มีในภาษาไทย เน้นศึกษาพฤติกรรมในพิธีกรรมต่างๆ โดยใช้ทฤษฎีการปรับตัวด้านวัฒนธรรมและภาษา ช่วง พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2545 ความเป็นจีนและศิลปะวัฒนธรรมจีน เน้นศึกษาวิกฤติเศรษฐกิจและศิลปะการแสดงของจีน โดยใช้ทฤษฎีการปรับตัว และทฤษฎีอัตลักษณ์ ช่วง พ.ศ. 2546 – พ.ศ.2550 ภาพสะท้อนอัตลักษณ์จีนและความสัมพันธ์ระหว่างไทย – จีน เน้นศึกษาการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์และความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย – จีน โดยใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์เชิงอำนาจและความหลากหลาย ช่วง พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555 อัตลักษณ์วัฒนธรรมจีน เน้นศึกษาการสืบทอดอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยใช้ทฤษฎีประวัติและวัฒนธรรม และช่วง พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2560 ภาพสะท้อนสังคมไทยในปัจจุบันที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์จีน เน้นศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในด้านต่างๆ และการธำรงอัตลักษณ์ความเป็นจีนในปัจจุบัน โดยใช้ทฤษฎีอัตลักษณ์ ทฤษฎีการปรับตัวทางวัฒนธรรม แนวคิดทางเศรษฐกิจออนไลน์ในยุคข้อมูลข่าวสาร และแนวคิดความเป็นสมัยใหม่

Author Biography

หลี่ เส้าฮุย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

References

กนกพร นุ่มทอง. (2560). ภาพลักษณ์ของโจโฉในวรรณกรรมจีน, วารสารจีนศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 10(1), 83 – 108.

กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์. (2559). อ่านวรรณกรรมพากษ์จีนในสังคมไทยยุคพัฒนา, วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 11(2), 96 – 127.

แก้วตา จันทรานุสรณ์. (2554). การสร้างตนและการสั่งสมทุนทางวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน, วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 28(3), 125 – 148.

ชนาภา เมธีเกรียงไกร. (2559). กระบวนการสืบทอดประเพณีทางสังคมของชาวไทยเชื้อสายจีนชุมชนตลาดบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชิดหทัย ปุยะติ. (2554). พัฒนาการและลักษณะเด่นของวรรณกรรมจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย, วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 7(2), 71 – 91.

นรุตม์ คุปต์ธนโรจน์. (2551). นิทานจีนยี่สิบสี่ยอดกตัญญู : การดำรงอยู่และวิธีการนำเสนอในสังคมไทยปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

นรุตม์ คุปต์ธนโรจน์. (2558). ย่านไชน่าทาวน์เยาวราช: พื้นที่การนำเสนออัตลักษณ์เชิงซ้อนของวัฒนธรรมความเป็นจีนในสังคมไทยร่วมสมัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรวรรณ ทรงบัณฑิตย. (2549). นิตยสารต้าเจียห่าวกับการนำเสนออัตลักษณ์จีน – สยาม(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภัสสร เสวิกุล. (2548). จากฮวงโหสู่เจ้าพระยา(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ธนาคารกสิกรไทย.

สิง สู่ยหยู. (2543). การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย ใน ความสัมพันธ์ไทย-จีน เหลียวหลังแลหน้า. กรุงเทพฯ : ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญญา เทพสิงห์. (2553). ฮวงจุ้ยการตกแต่งร้านของชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองหาดใหญ่, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 1(2), 77-106.

พลศักดิ์จิรไกรศิริ. (2531). บูรณาการของเยาวชนจีนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ปิยชาติ สึงตี และ สิรีธร ถาวรวงศา. (2553). ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มชาวจีนฮกจิวในภาคใต้ของประเทศไทย : กรณีศึกษาชุมชนชาวจีนฮกจิว อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

ปรีดา อัครจันทโชติ. (2557). การข้ามพ้นวัฒนธรรมของสื่อการแสดงงิ้วในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงษ์ทัช จิตวิบูลย์ และ ปัญญา เทพสิงห์. (2560). ประเพณีเช็งเม้ง: คุณค่าที่มีต่อสังคมในเมืองหาดใหญ่, วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 7(1), 72 – 80.

พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2553). โพธาราม: ประเพณีจีนที่อาจเลือนหายไปตามกาลเวลา, วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 32(1), 57 – 68.

พรพิมล ศรีธเรศ. (2560). ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมไทย – จีน เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในจังหวัดอุบลราชธานี, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 8(1), 230 – 243.

พวงทิพย์ เกิดทรัพย์. (2540). การคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงพิธีศพของชาวจีนที่วัดหัวลำโพงในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูมิ ภูติมหาตมะ. (2559). จีนย่านน้อย : ศรัทธาและเศรษฐกิจการค้าแห่งจีนสยาม, วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(2), 2590 – 2606.

ยุทธนา วรุณปิติกุล. (2540). พิธีกรรมกินเจในสังคมจีนภาคใต้: กรณีชาวจีนในตำบลตะกั่วป่าจังหวัดพังงา. กรุงเทพฯ : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

ยุพิน คล้ายมนต์. (2538). พัฒนาการคำจีนที่มีภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เรือนแก้ว ภัทรานุประวัติ. (2555). การศึกษาสืบทอดความเป็นจีนผ่านการทำความเข้าใจในความหมายและสัญลักษณ์ทางศาสนาของชาวจีนสู่ลูกหลานในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้า.

วงศ์เดือน ภานุวัฒนากูล. (2552). อัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วันจรัตน์ เดชวิลัย และทวนธง ครุฑจ้อน. (2557). บทบาทองค์กรส่วนท้องถิ่นที่มีต่อการส่งเสริมสืบทอดอัตลักษณ์ชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนในภูเก็ต, วารสารวิเทศศึกษา. 4(2), 1 – 34.

ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร. (2556). ความหมายและอัตลักษณ์ของจีนฮากกา, วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 33(1), 215 – 240.

สุชาติ เศรษฐมาลินี. (2550). การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของชาวมุสลิมยูนนานในภาคเหนือของประเทศไทย, วารสารสังคมศาสตร์. 19(2), 24 – 58.

สุชาวดี เกษมณี และวิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2551). อัตลักษณ์จีนในสังคมไทยจากวรรณกรรมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อิรทิรา พงษ์นาค และศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2558). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, วารสารสาขามนุยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(3), 511 – 523.

Skinner, G. (1957). Chinese Society in Thailand : An analytical History. New York : Cornell University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28