กระบวนการทางพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความศรัทธาในศาสนาพุทธของชาวอินเดีย ในเมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย

Main Article Content

พระครูวชิรโพธิวิเทศ (สงกรานต์ กิตฺติวํโส)
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
สุวัฒสัน รักขันโท
สายหยุด มีฤกษ์
พระสมุห์โชคดี วชิรปัญโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความศรัทธาในศาสนาพุทธของชาวอินเดีย 2) เพื่อพัฒนากระบวนการทางพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความศรัทธาในศาสนาพุทธของชาวอินเดีย และ 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการทางพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความศรัทธาในศาสนาพุทธของชาวอินเดีย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูป/คน แบ่งเป็นผู้นำทางศาสนาพุทธในประเทศอินเดีย ได้แก่ หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล และเจ้าอาวาสวัดพุทธศาสนาในเมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย และชาวอินเดียที่นับถือศาสนาพุทธ และการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความศรัทธาในศาสนาพุทธของชาวอินเดีย 2 ลักษณะ ได้แก่ ความศรัทธาทางสังคม ศรัทธาทางศาสนา 2) การพัฒนากระบวนการทางพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความศรัทธาในศาสนาพุทธของชาวอินเดีย ได้แก่ (1) หลักการของกระบวนการทางพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความศรัทธาในศาสนาพุทธของชาวอินเดีย หลักการของความศรัทธาของชาวอินเดียเกิดจากการประสบการณ์การรับรู้จากอายตนะ และการรับรู้อารมณ์ (2) วิธีการของกระบวนการทางพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความศรัทธาในศาสนาพุทธของชาวอินเดีย ประกอบด้วยการถือประมาณ การสดับเสียงจากภายนอก การคิดด้วยตนเอง การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง (3) ผลของกระบวนการทางพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความศรัทธาในศาสนาพุทธของชาวอินเดีย ประกอบด้วยชาวอินเดียมีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและการไม่ยึดติดละทิ้งกิเลส ปลูกฝังโยนิโสมนสิการและมีกำลังใจในการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ และ 3) กระบวนการทางพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความศรัทธาในศาสนาพุทธของชาวอินเดีย ประกอบด้วย (1) การถือประมาณ (2) การสดับเสียงจากภายนอก (3) การคิดด้วยตนเอง (4) การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างศาสนิกชน ผู้นำทางศาสนา และชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับศาสนาและความศรัทธาของผู้คน

Article Details

How to Cite
(สงกรานต์ กิตฺติวํโส) พ. ., ศรีเครือดง ส. ., รักขันโท ส. ., มีฤกษ์ ส. ., & วชิรปัญโญ พ. . (2024). กระบวนการทางพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความศรัทธาในศาสนาพุทธของชาวอินเดีย ในเมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 28–37. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/275614
บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2539). จากจิตวิทยาสู่จิตภาวนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติมช่วงที่ 1). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

พระราชวัลภาจารย์ และพระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต. (2565). ต้นแบบหลักสูตรการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 9(1). 1-12.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต